นางสาวณัฏฐณิชา วรวรรณเศรษฐ์ รองประธานอาวุโสฝ่ายสนับสนุนการบริหารงานในองค์กร บริษัท ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด ประเทศไทย และอินโดไชน่า เผยถึงโครงการ “มิซุอิกุ” ว่า เป็นโครงการมุ่งส่งเสริมให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำ และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม รวมถึงสอนให้ทุกคนเข้าใจบทบาทของตนเอง ที่สามารถมีส่วนร่วมอนุรักษ์น้ำได้ง่ายๆในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ และส่งต่อให้คนรุ่นหลังต่อไป

“ปีนี้ถือเป็นโอกาสพิเศษ ครบรอบ 20 ปี ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการมาในประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2547 ได้จัดงาน วัน ซันโทรี่ มิซุอิกุ : เรารักษ์น้ำ ประจำปี 2567 ในประเทศไทย เป็นความร่วมมือระหว่าง ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด ประเทศไทย และ ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย รวมถึงภาคีภาครัฐร่วมเป็นพันธมิตร อย่าง กรมทรัพยากรน้ำ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental Education Centre) เพื่อร่วมกันเสริมสร้างองค์ความรู้ และสานต่อกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ”

...

นางสาวณัฏฐณิชา เผยถึงรูปแบบกิจกรรมหลักของการจัดงาน ได้แก่ กิจกรรม “ค่าย มิซุอิกุ ผู้พิทักษ์รักษ์น้ำ” (Mizuiku Water Hero Camp) โดยคัดเลือกโรงเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดเป้าหมาย ระยอง และชลบุรี รวมทั้งสิ้น 30 โรงเรียน โดยมีแกนนำนักเรียน ตัวแทนคุณครู และพนักงานจิตอาสาจากทั้งสองบริษัทเข้าร่วมกิจกรรมเป็นระยะเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 4-6 มิถุนายน 2567 ณ จังหวัดระยอง เพื่อให้ความรู้แก่เยาวชนเกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากรน้ำ เข้าใจวัฏจักรของน้ำ และปัญหาของน้ำที่พบในท้องที่ ส่งเสริมให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรน้ำ และสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน

นอกจากนี้ยังมีการประกวด “โรงเรียนต้นแบบรักษ์น้ำ มิซุอิกุ” (Mizuiku Water Model School) โดยหลังจากจบกิจกรรมค่าย ทางโครงการจะสนับสนุนทุนให้โรงเรียนละ 10,000 บาท เพื่อให้เสนอแผนงานและแข่งขันดำเนินโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในโรงเรียน ให้ครอบคลุม 4 ด้าน คือด้านนโยบาย ด้านบุคลากร ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านการขยายผลสู่ชุมชน พร้อมจัดตั้ง “มิซุอิกุ คลับ” เพื่อขับเคลื่อนและขยายผลโครงการ และคัดเลือก 1 โรงเรียนต่อจังหวัดเป้าหมาย เป็น “โรงเรียนต้นแบบรักษ์น้ำ มิซุอิกุ” และได้เดินทางไปดูต้นกำเนิดโครงการ “มิซุอิกุ” ที่ประเทศญี่ปุ่น

...

“เรามุ่งเน้นสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกด้านทรัพยากรน้ำ ผ่านกิจกรรม “อนุรักษ์ป่าต้นน้ำ” อาทิ การสร้างฝาย ปลูกหญ้าแฝก และฟื้นฟูระบบนิเวศของป่า เสริมสร้างองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจ และพัฒนาทักษะของเยาวชนในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ในโรงเรียน และชุมชนของตน รวมถึงปลูกจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นางสาวณัฏฐณิชา กล่าว.

คลิกอ่าน "ข่าวเกษตร" เพิ่มเติม