นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยถึงการประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสมุนไพรและแมลงเศรษฐกิจ ของกรมส่งเสริมการเกษตร พบว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 5,117 ราย ครบตามเป้าหมาย ทุกรายได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้จากโครงการในการผลิตสมุนไพรและแมลงเศรษฐกิจ โดยเกษตรกรร้อยละ 84 นำความรู้ที่ได้รับมาใช้ปรับปรุงการผลิต ส่งผลให้มีประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น
...
อย่าง กระชายขาว ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากเดิมได้ผลผลิตไร่ละ 213 กก. เพิ่มเป็น 233 กก. จากการเพิ่มการดูแลรักษา คัดเลือกหัวพันธุ์ที่มีอายุเหมาะสมในการปลูก และเก็บเกี่ยวผลผลิตตรงตามช่วงอายุการเก็บเกี่ยว
ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการผลิตลดลงร้อยละ 4.32 จากเดิมมีต้นทุนไร่ละ 4,560 บาท ลดลงมาเหลือไร่ละ 4,363 บาท จากการเตรียมแปลงปลูกอย่างถูกวิธี และใช้หัวพันธุ์ในปริมาณที่เหมาะสม
ในขณะที่เกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้นจาก กก.ละ 15 บาท เพิ่ม 17.50 บาท ทำให้มีเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ส่งผลให้ผลผลิตมีมูลค่าสูงขึ้น สร้างรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 จากเดิมมีรายได้ไร่ละ 3,195 บาทต่อปี เพิ่มเป็น 4,083 บาท
สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ รองเลขาธิการ สศก. เผยว่า เกษตรกรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น จิ้งหรีด มีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากเดิมได้ผลผลิตบ่อละ 18 กก.ต่อรุ่น เพิ่มเป็น 19 กก. จากการปรับเปลี่ยนชนิด ปริมาณ และความสะอาดของอาหารจิ้งหรีดให้เหมาะสม และเปลี่ยนสายพันธุ์หลังจากเลี้ยงไปแล้ว 1-3 รุ่น
ส่วนค่าใช้จ่ายในการผลิตลดลงร้อยละ 13 จากเดิมมีต้นทุนบ่อละ 1,239 บาทต่อรุ่น ลดลงมาร้อยละ 13 เหลือบ่อละ 1,073 บาทต่อรุ่น จากการปรับเปลี่ยนมาใช้วัสดุในการเลี้ยงที่เหมาะสมและมีราคาถูกลง
“และยังทำให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้นร้อยละ 10 จากเดิมขายได้ กก.ละจาก 90 บาท เพิ่มขึ้นมาเป็น 99 บาท ส่งผลให้เกษตรกรได้ผลผลิตมีมูลค่าสูงขึ้น ร้อยละ 17 จากเดิมมีรายได้บ่อละ 1,636 บาทต่อรุ่น เพิ่มเป็น 1,907 บาท นอกจากนี้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการยังมีการรวมกลุ่มหรือเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตการตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยจากก่อนเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรมีการรวมกลุ่มเพียงร้อยละ 30 แต่หลังเข้าร่วมโครงการ มีการรวมกลุ่มเพิ่มเป็นร้อยละ 62” นางธัญธิตา กล่าว.
...
คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม