นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยถึงแผนปฏิบัติราชการ พ.ศ.2568 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าเป็นการบูรณาการร่วมทุกหน่วยงานในสังกัด จัดทำขึ้นโดยเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา ประกอบกับการวิเคราะห์บริบทต่างๆ ในภาคการเกษตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้แผนปฏิบัติราชการดังกล่าว มีความครบถ้วนสมบูรณ์ และใช้เป็นกรอบแนวทางหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินการพัฒนาภาคการเกษตรได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นแนวทางในการจัดทำแผนงานโครงการสำหรับเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2568 เพื่อให้การขับเคลื่อนสัมฤทธิ์ผล และมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายระดับชาติต่อไป

“แผนปฏิบัติราชการนี้ รมว.เกษตรฯ ได้เห็นชอบ และประกาศใช้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยกำหนดวิสัยทัศน์ คือ “เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี” โดยมีประเด็นการพัฒนา 5 ประเด็น ได้แก่ 1.เสริมสร้างความมั่นคงทางการเกษตร มุ่งเน้นป้องกันและแก้ปัญหาที่กระทบต่อ
ความมั่นคงด้านอาหาร 2.ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันภาคเกษตร เน้นเกษตรมูลค่าสูง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันเกษตรกร และพัฒนาการเกษตรในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 3. สร้างความเสมอภาคและกระจายความเท่าเทียมทางสังคมเกษตร โดยเสริมสร้างทุนทางสังคม รองรับสังคมเกษตรสูงวัย ยกระดับผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร และพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก 4. บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวด ล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน โดยสร้างการเติบโตบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว และการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และ 5.พัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐและงานวิจัยด้านการเกษตร เน้นพัฒนารูปแบบการให้บริการประชาชน พัฒนาบุคลากร และส่งเสริมการวิจัย พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในภาคการเกษตร”

...

เลขาธิการ สศก. เผยอีกว่า การจัดทำแผนปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 และ 2562 โดยยึดหลักแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ คือ การมองเป้าหมายร่วมกัน การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าการจัดลำดับความสำคัญ และการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ

“สำหรับแผนปฏิบัติราชการ พ.ศ.2568 ของกระทรวงเกษตรฯ กำหนดเป้าหมายสำคัญ อาทิ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสาขาเกษตรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ผลิตภาพการผลิตของภาคเกษตรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 รายได้เงินสดสุทธิครัวเรือนเกษตรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 และครัวเรือนเกษตรได้รับประโยชน์จากการบริหารจัดการน้ำรวม 2.14 ล้านครัวเรือน”.

คลิกอ่าน "ข่าวเกษตร" เพิ่มเติม