นับเป็นเรื่องท้าทายความสามารถด้านวิชาการเกษตรของบ้านเราว่า จะก้าวตามทันโลกได้หรือไม่ เมื่อรัฐสภายุโรป มีมติรับรองเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม หรือเทคนิคจีโนมแบบใหม่ (GEd, New Genomic Techniques (NGTs), Genome editing)

มีผลให้พืชที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม และเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่มีความปลอดภัยสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่จัดเป็นพืช GMOs และจะถูกพิจารณาเช่นเดียวกับพืชที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์แบบปกติ ไม่ใช้กฎหมายและหลักเกณฑ์เดียวกันกับพืช GMOs อีกต่อไป

กฎระเบียบใหม่นี้จะอนุญาตให้มีการพัฒนาพันธุ์พืชที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น สามารถรับประกันผลผลิตที่สูงขึ้น ทนต่อสภาพอากาศและใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงน้อยลง โดยในขั้นตอนหลังจากนี้ รัฐสภายุโรปจะดำเนินการเจรจากับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปในการร่างกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร แจ้งว่า ผลการลงมติของสหภาพยุโรปครั้งนี้ ตอบโจทย์ และสอดคล้องกับนโยบายของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ รวมถึงนโยบายของรัฐบาลอย่างถูกเวลา ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร จะเร่งดำเนินการขับเคลื่อนเทคโนโลยี genome editing หรือ gene editing (GEd) ภาคเกษตรสู่ความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร และร่างหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมสำหรับประเทศไทย

...

สำหรับเทคโนโลยี GEd ปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO), OECD มี 13 ประเทศประกาศสนับสนุนในที่ประชุมองค์การการค้าโลก (WTO) การใช้ประโยชน์เมล็ดพันธุ์ร่วมกัน ทั้งเชิงการค้าและการบริโภค และกว่า 40 ประเทศทั่วโลก อาทิ แคนาดา อเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา ชิลี ญี่ปุ่น จีน อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ เคนยา รัสเซีย และออสเตรเลีย ประกาศใช้นโยบาย No foreign DNA = not GMOs โดยถือว่าพืช GEd มีความปลอดภัยเช่นเดียวกับพืชปกติทั่วไป
โลกไปไกลกันขนาดนี้แล้ว ไม่รู้ว่าระบบบริหารประเทศไทยจะหายจากโรคผวาม็อบมโนเอ็นจีโอกันรึยัง.

สะ–เล–เต

คลิกอ่าน "หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน" เพิ่มเติม