เสียงสะท้อนคดีเด็กอายุ 14 กราดยิงเหยื่อคนไทยและชาวต่างชาติเสียชีวิตภายในห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน เหตุเกิดวันที่ 3 ต.ค. เป็นคดีสำคัญที่มีผลต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร.

ร่วมกันคลี่คลายปัญหา

พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. ระดมนักสืบ พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. ลงพื้นที่สืบสวนตรวจค้นแหล่งจำหน่ายอาวุธปืนกระสุนปืนออนไลน์

เชื่อมโยงผู้ที่ก่อเหตุสั่งซื้ออาวุธปืน กระสุนปืน ซ้อมยิงปืน การคุยไลน์ผ่านเพื่อนตั้งใจก่อเหตุ และหลังก่อเหตุโทร.หา 191 ประสานอัยการ และแพทย์เข้าร่วมทำการสอบสวนปากคำผู้ก่อเหตุ ตำรวจทำตามลำดับขั้นตอน

แม้วันนั้นกระแสสังคมกดดันให้ดำเนินคดีผู้ก่อเหตุ แม้จะเป็นเด็กอายุ 14 ปี แต่ด้วยพฤติกรรมตระเตรียมการก่อเหตุรุนแรง วางแผนเป็นขั้นตอน มองว่ากฎหมายที่ใช้กับเด็กที่ก่อเหตุรุนแรงมีอัตราโทษเบาเกินไป

เทียบไม่ได้กับความเสียหาย

การที่อัยการส่งสำนวนกลับมาว่าเด็กไม่พร้อมต่อการสู้คดี งดสอบสวน รอทีมแพทย์เห็นว่าเด็กมีความพร้อมแล้ว จะส่งพนักงานสอบสวน สหวิชาชีพ ทนายและผู้ปกครอง ร่วมสอบปากคำ เป็นคำถามและข้อสงสัยผู้คนที่ติดตามคดีมาตั้งแต่แรก เหตุใดคดีใหญ่มีผลเสียหายใหญ่หลวงกับประเทศตำรวจและอัยการไม่ประสานกัน

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. บอกว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ล่าช้าในการรวบรวมพยานหลักฐานและการสอบปากคำ ซึ่งตามขั้นตอนต้องมีการสอบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ตำรวจได้ทำตามขั้นตอนทุกอย่าง ส่วนกฎหมายที่มีการระบุให้พนักงานสอบสวนและศาลสามารถใช้ดุลพินิจในการดำเนินคดีกับเด็ก ยืนยันว่าพนักงานสอบสวนได้ใช้ดุลพินิจในการพิจารณา มีการแจ้งข้อกล่าวหาตามข้อเท็จจริงไปแล้ว ถือว่าใช้ดุลพินิจแล้ว

...

กรณีญาติผู้เสียชีวิตกลัวว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม ผบ.ตร.ให้พนักงานสอบสวนอธิบายขั้นตอนญาติผู้เสียชีวิต พูดคุยกับญาติผู้ก่อเหตุเห็นตรงกันว่าอยากให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์เป็นผู้ดูแลต่อไป

จากเหตุเด็ก 14 กราดยิงเหยื่อห้าง และคดีวัยรุ่นก่อเหตุแนวโน้มรุนแรง ช่างกลตั้งองค์กรเถื่อนล่าคู่อริ มีผู้บริสุทธิ์เป็นเหยื่อ เป็นปัญหาใหญ่ในสังคมไทย พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ หยิบยกแบบอย่างของต่างประเทศมาศึกษา คดีที่มีเด็กมาก่อเหตุ เสนอปรับลดอายุผู้กระทำผิดให้ต่ำลงจากอายุ 15 ปี ลดเหลือ 12 ปี หารือทุกฝ่ายจริงจัง

ข้อเท็จจริงที่ว่าการก่อเหตุในเด็กรุนแรงและเลียนแบบโซเชียลมากขึ้น ผู้ก่อเหตุมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ

ดีกว่าปล่อยให้เกิด “วัวหายล้อมคอก”.

“เพลิงพยัคฆ์”
pluengpayak@thairath.co.th

คลิกอ่านคอลัมน์ "เลขที่1 วิภาวดีฯ" เพิ่มเติม