มกอช. ขับเคลื่อนงานมาตรฐานด้านปศุสัตว์ กำหนดกลไกขับเคลื่อนความปลอดภัย ยกระดับการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และเนื้อสัตว์ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด คุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนประโยชน์ทางการค้า และสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น
เมื่อวันที่ 2 ม.ค.67 สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ปศุสัตว์มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย และเป็นที่นิยมในการบริโภค ตลอดจนมีแนวโน้มความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น และการเลี้ยงปศุสัตว์เปลี่ยนมาเป็นเชิงธุรกิจมากขึ้น ทั้งนี้ มกอช.ในฐานะหน่วยงานหลักด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรของไทย โดยการกำกับดูแลให้มีมาตรฐานความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร เริ่มตั้งแต่ระดับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ จนถึงโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ เพื่อยกระดับการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และเนื้อสัตว์ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด คุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนประโยชน์ในทางการค้า และสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น ที่ผ่านมา มกอช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้บูรณาการขับเคลื่อนงานด้านมาตรฐาน ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านปศุสัตว์ ดังนี้
...
ต้นทาง : เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง สามารถนำไปใช้เป็นอาหาร หรือเลี้ยงต่อเป็นอาหาร หรือเพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับการบริโภค หรือการนำไปแปรรูป หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือเพื่อการค้า ได้แก่
- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค (มกษ. 9063-2565)
- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อ (มกษ. 6400-2555)
- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนม (มกษ. 6402-2562)
- แนวปฏิบัติในการใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนม (มกษ. 6402(G)-2562)
- การปฏิบัติที่ดีสำหรับฟาร์มไก่เนื้อ (มกษ. 6901-2560)
- การปฏิบัติที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ (มกษ. 6909-2562) ที่เลี้ยงไก่ไข่เพื่อการค้า จำนวนตั้งแต่ 1,000 ตัวขึ้นไป
- การปฏิบัติที่ดีสำหรับฟาร์มไก่พันธุ์ (มกษ. 6903-2558)
- การปฏิบัติที่ดีสำหรับฟาร์มสัตว์ปีกแบบเลี้ยงปล่อย (มกษ. 6916-2565)
- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มแพะเนื้อ (มกษ. 6404-2549)
- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มแพะนม (มกษ. 6408-2552)
- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มแกะเนื้อ (มกษ. 6405-2549)
- การปฏิบัติที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร (มกษ. 6403-2565)
กลางทาง : สำหรับการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับการบริโภค เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ปลอดภัย มาใช้ในการบริโภคทั้งภายในประเทศและเพื่อการส่งออกเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงคุณภาพ การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการคุ้มครองผู้บริโภค
- หลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร: การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี (มกษ. 9023-2564)
- การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงฆ่าสัตว์ (มกษ.9004-2547)
- การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงฆ่าสุกร (มกษ.9009-2549)
- การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงฆ่านกกระจอกเทศ (มกษ.9018-2550)
- การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงฆ่าโคและกระบือ (มกษ.9019-2550)
- การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงฆ่าแพะและแกะ (มกษ.9040-2556)
- แนวปฏิบัติในการใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่องการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงฆ่าแพะและแกะ (มกษ. 9040(G)-2557)
ปลายทาง : เครื่องหมาย Q คือ เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร ที่ปฏิบัติตามมาตรฐานและขอการรับรองมาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อและเลือกบริโภคสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐาน คุณภาพ และเชื่อมั่นในความปลอดภัย ผ่านช่องทางดังนี้
1.สถานที่จำหน่ายสินค้า Q ได้แก่ 1)โครงการส่งเสริมการบริโภคและใช้วัตถุดิบสินค้า Q (Q market) ได้ตรวจประเมินและให้การรับรองสถานที่จำหน่ายสินค้า Q กรุงเทพฯ จำนวน 16 ตลาด 261 แผง และนอกพื้นที่กรุงเทพฯ มีเข้าร่วมโครงการ จำนวน 70 จังหวัด เป็นตลาดสด 318 ตลาด/1,809 แผง และร้านค้าหน้าฟาร์ม 502 ร้าน 2) โครงการตรวจรับรองสถานที่จำหน่ายสินค้า Q ประเภทโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) ได้แก่ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด (Tops) 295 สาขา, บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด 213 สาขา, บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) 198 สาขา, บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) (Makro) 145 สาขา, และ บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด 15 สาขา, รวมทั้งหมด 866 สาขาทั่วประเทศ
...
2.โครงการร้านอาหารวัตถุดิบปลอดภัยเลือกใช้สินค้า Q (Q Restaurant) เพื่อส่งเสริมการบริโภคและการใช้วัตถุดิบคุณภาพ ที่มีการผลิตตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และมาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีสำหรับการผลิต (GMP) และเพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่ายให้กับสินค้าที่มีความปลอดภัย ซึ่งมีผลการดำเนินงานสะสมของโครงการร้านอาหารวัตถุดิบปลอดภัย เลือกใช้สินค้า Q (Q restaurant) ได้แก่ 1) ร้าน Q Restaurant ที่คงสถานะการรับรอง 3,113 ร้าน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็นร้านเดี่ยว 2,461 แห่ง และร้านอาหารหลายสาขา 652 สาขา ได้แก่ เอ็มเค เรสโตรองต์ 458 ร้าน /ยาโยอิ 197 ร้าน 2) ร้านอาหาร Q Restaurant ระดับพรีเมี่ยมใน 18 จังหวัด รวม 87 ร้าน ได้แก่ เชียงราย, เชียงใหม่, ชัยภูมิ, เพชรบุรี, พระนครศรีอยุธยา, พิษณุโลก, นครสวรรค์, พัทลุง, อุดรธานี, สิงห์บุรี, แพร่, ระนอง, ลพบุรี, นครปฐม, นครราชสีมา, สงขลา ,น่าน, และกรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ การยกระดับกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรด้วยมาตรฐาน ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในระบบห่วงโซ่คุณภาพและความปลอดภัย ซึ่งเกิดได้ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพและความปลอดภัย ด้านอาหารของสินค้าเกษตร เพิ่มโอกาสทางการตลาดและการค้าของสินค้าเกษตรให้แก่ผู้ผลิต/เกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้มาตรฐาน รวมถึงผู้บริโภคที่เลือกซื้อ/บริโภคสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดระบบการจัดการมาตรฐานความปลอดภัย และคุณภาพสินค้าเกษตรของประเทศให้มีความเป็นสากลและยั่งยืนต่อไป
...