โลกก้าวไปข้างหน้า การปรับปรุงพันธุ์พืชแบบเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม และการแก้ไขยีน หรือ geneediting เข้ามาแทนการปรับปรุงพืชแบบเก่า ขณะเดียวกันพืชดัดแปลงพันธุกรรมใหม่ๆมีออกมาให้ทดลองไม่ขาดสาย

ยกตัวอย่างจีน การเก็บเกี่ยวข้าวดัดแปลงพันธุกรรม ครั้งที่ 2 ที่พัฒนาโดยสถาบันเกษตรกึ่งเขตร้อน (Institute of Subtropical Agriculture) แห่งสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) ได้เสร็จสิ้นแล้วในแปลงทดลอง

เป็นพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงเป็นสองเท่าของพันธุ์ข้าวทั่วไป มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Giant Rice เกษตรกรในท้องถิ่นรายหนึ่งที่เข้าร่วมการทดลอง กล่าวว่า ให้ผลผลิตสูงถึง 12.6 ตันต่อเฮกตาร์ หรือไร่ละ 2.02 ตัน

การทดลองดังกล่าวเกิดขึ้นที่ จ.กุ้ยโจว มณฑลซานโจว สำนักงานสถิติแห่งชาติบันทึกไว้ว่า ผลผลิตในปีนี้สูงกว่าผลผลิตข้าวเฉลี่ยของจีนในปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ 7.1 ตันต่อเฮกตาร์ (ไร่ละ 1.14 ตัน) ประมาณ 1.8 เท่า

นอกเหนือจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว ข้าวดัดแปลงพันธุกรรมยังแสดงความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช และทนน้ำท่วมเพิ่มขึ้นด้วย

ขณะที่ในสหรัฐอเมริกา นักชีววิทยาศาสตร์จาก Joint BioEnergy Institute ของสหรัฐฯ พัฒนาสายพันธุ์ข้าวฟ่างที่สามารถเจริญเติบโตให้ต้นสูง แข็งแรง และมีสุขภาพดีได้ โดยใช้น้ำเพียงเล็กน้อย อันเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเกษตรกรที่ผลิตข้าวฟ่างในปริมาณมากด้วยต้นทุนที่ต่ำ

เดิมทีข้าวฟ่างมีความสามารถในการงอกต่ำ นักวิจัยพบว่ายีนจากข้าวสาลีมีความสามารถสูงที่จะทำให้เกิดการงอกเป็นต้นใหม่สูงกว่าข้าวฟ่าง

ทีมนักวิจัยจึงถ่ายฝากยีนจากข้าวสาลีให้กับข้าวฟ่าง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการงอกเป็นต้นใหม่ โดยข้าวฟ่างที่ได้รับการถ่ายฝากยีน สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และวิกฤติพลังงาน การวิจัยครั้งนี้ช่วยเร่งความพยายามในการศึกษาศักยภาพของข้าวฟ่าง ในฐานะแหล่งคาร์บอนสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ

...

โลกไปไกลถึงไหน...ไทย 10 ปีที่แล้วเป็นยังไง วันนี้ยังคงเป็นเช่นนั้น.

สะ–เล–เต

คลิกอ่าน "หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน" เพิ่มเติม