“การบริหารงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร อยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการ 3 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร โดยคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเป็นบอร์ดใหญ่ในการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการทั้งหมด มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ กรรมการตามที่พระราชบัญญัติกำหนด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการผู้แทนเกษตรกร โดยเมื่อวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรที่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของคณะกรรมการไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”
นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) อธิบายถึงการบริหารงานของ กฟก. ที่มีการเลือกตั้งคณะกรรมการฯไปเมื่อ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา...จากการที่ กฟก. ได้ร่วมกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จัดการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร เพื่อเป็นคณะกรรมการฯ มีเกษตรกรสมาชิกที่มีสิทธิเลือกตั้ง 5.2 ล้านคน โดยทั่วประเทศมีหน่วยเลือกตั้ง 4,957 หน่วย โดยผลการนับคะแนนที่คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งรายงานผลให้กรมการปกครองทราบประกอบด้วย
...
ผู้แทนเกษตรกร ภูมิภาคที่ 1 (ภาคเหนือ) ได้แก่ 1.นายรัฐภูมิ ขันสลี จาก จ.น่าน 2.นายไชยภร แย้มปั้น จาก จ.สุโขทัย 3.นายนเรศ รัศมีจันทร์ จาก จ.เชียงราย 4.นายยุทธศักดิ์ ยารังสี จาก จ.พะเยา 5.นายประสิทธิ์ บัวทอง จาก จ.พิจิตร
ผู้แทนเกษตรกร ภูมิภาคที่ 2 (ภาคกลาง) ได้แก่ 1.นายกิตติพล ตะพานแก้ว จาก จ.ลพบุรี 2.นายเอนก น้อยแสง จาก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 3.นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล จาก จ.สุพรรณบุรี 4.นางนิสา คุ้มกอง จาก จ.ชัยนาท
ผู้แทนเกษตรกร ภูมิภาคที่ 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ได้แก่ 1.นายศักดิ์ชาย พรหมโท จาก จ.อุดรธานี 2.นางสาวภัคสุภรณ์ สวัสดิ์ศรี จาก จ.ชัยภูมิ 3.นายจารึก บุญพิมพ์ จาก จ.ศรีสะเกษ 4.นายกุญชร สุธรรมวิจิตร จาก จ.อุบล ราชธานี 5.นายนิคม ฤทธิ์ศรีบุญ จาก จ.สกลนคร 6.นายสราวุธ ศุภรมย์ จาก จ.ขอนแก่น 7.นายเทอดรัฐ นาหัวนิล จาก จ.หนองบัวลำภู
ผู้แทนเกษตรกร ภูมิภาคที่ 4 (ภาคใต้) ได้แก่ 1.นายดรณ์ พุมมาลี จาก จ.พัทลุง 2.นายยูโซ๊ะ อาเก๊ะ จาก จ.ปัตตานี 3.นางพจมาน สุขอำไพจิตร จาก จ.ชุมพร 4.นายสมบูรณ์ จิตรเพ็ญ จาก จ.นราธิวาส
...
ขณะนี้กรมการปกครองได้รายงานผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการให้กฟก.รับทราบแล้ว พร้อมเสนอรายชื่อต่อ รมว.เกษตรฯ เพื่อลงนามแต่งตั้ง โดยจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน โดยผู้แทนเกษตรกรชุดใหม่ทั้ง 20 คน จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงแทนเกษตรกรสมาชิก ร่วมกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สิน และการฟื้นฟูอาชีพ พัฒนาศักยภาพของเกษตรกรให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล รวมถึงเป็นตัวแทนเข้าไปแก้ไขและพัฒนาภาคเกษตรกรรม ให้เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็งและยั่งยืน
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษ กฟก.ได้อนุมัติโครงการฟื้นฟูอาชีพให้องค์กรเกษตรกรแล้วกว่า 12,160 โครงการ เป็นเงิน 1,448,432,480.25 บาท แก้ไขหนี้สินให้เกษตรกรทั้งสิ้น 35,068 ราย 35,543 สัญญา จำนวนเงินรวม 10,844,047,984.76 บาท โดยการชำระหนี้แทนเกษตรกรกับสถาบันการเงินต่างๆ (NPL) 34,301 ราย 34,754 สัญญา จำนวนเงิน 10,252,572,253.69 บาท และซื้อทรัพย์ที่ถูกขายทอดตลาดคืนให้เกษตรกร (NPA) 767 ราย 789 สัญญา จำนวนเงิน 591,475,731.07 บาท สามารถรักษาที่ดินทำกินให้เกษตรกร 28,066 แปลง เนื้อที่กว่า 189,368 ไร่.
...
กรวัฒน์ วีนิล
คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม