ฝ่ายเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) วิเคราะห์สถานการณ์ยาง...สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) คาดการณ์ว่า ผลผลิตยางธรรมชาติทั่วโลกปี 2566 จะเพิ่มขึ้น 2.0% น้อยกว่าคาดการณ์เดิมที่ 2.5% เป็นผลจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ผลิตรายสำคัญ ทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อยลง และเวียดนามขาดแคลนแรงงานกรีดยาง ส่วนมาเลเซียและอินโดนีเซียมีการโค่นยางเพื่อปลูกปาล์มมากขึ้น

ขณะที่คาดการณ์ความต้องการใช้ยางโลกเพิ่มขึ้น 0.17% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากยอดขายรถยนต์ที่ขยายตัวในประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่อย่างจีนและอินเดีย โดยเฉพาะรถยนต์ EV ของจีนที่เติบโตอย่างมาก IMF จึงคาดการณ์ว่าผลิต ภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนและอินเดียจะเพิ่ม 5.6% และ 6.3% ตามลำดับ

นอกจากนี้ความต้องการใช้ยางโลกมากกว่าผลผลิตยางที่ 0.678 ล้านตัน คิดเป็น 4.4% ส่งผลให้เกิด Over Demand ในอุตสาหกรรมยางโลก เป็นปัจจัยบวกต่อราคายาง

สำหรับการส่งออกยางโลกในเดือน ม.ค.-ก.ค.66 ประเทศสมาชิก ANRPC ส่งออกลดลง 3.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ไทยยังคงรักษา Market Share ได้ที่ 43% คาดว่าในไตรมาส 4 ปริมาณส่งออกยางธรรมชาติจะอยู่ที่ 1,125,945 ตัน เพิ่มขึ้น 0.48% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มเศรษฐกิจดีขึ้น

ด้านตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจประเทศผู้ใช้ยาง ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน ก.ย. ของสหรัฐฯ จีน ยูโรโซน อยู่ที่ระดับ 49.0 50.20 และ 43.4 ตามลำดับ ขยายตัวมากกว่าเดือน ส.ค. แม้ว่า PMI ของสหรัฐฯ จะอยู่ต่ำกว่าระดับ 50.0 แต่มีทิศทางขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ GDP ไตรมาส 3 ของสหรัฐฯ จีน และยูโรโซน ขยายตัวที่ 5% 4.9% และ 0.1% ตามลำดับ ประกอบกับการผลิตรถยนต์โลกเดือน เม.ย.-มิ.ย.66 ทั้ง Light Vehicle และ M/HCV เพิ่มขึ้น 12.3% และ 12.0% ตามลำดับ

...

จากปัจจัยบวกด้านผลผลิตยางที่น้อยกว่าคาดการณ์เดิม สวนทางกับความต้องการใช้ยางโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะประเทศผู้ใช้ยางมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จึงคาดว่าทิศทางราคายางไตรมาส 4/66 มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น.

สะ-เล-เต

คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน” เพิ่มเติม