สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ไตรมาส 2 (เม.ย.-มิ.ย.66) ละ 0.3 สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ขยายตัวเพิ่ม
สาขาพืช หดตัวร้อยละ 1.6 เนื่องจากปริมาณฝนและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำตามธรรมชาติน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช อีกทั้งยังมีสภาพอากาศ ที่แปรปรวนในช่วงปลายปี 2565 ถึงช่วงต้นปี 2566 ทำให้พื้นที่ทางภาคตะวันออกมีฝนตกชุกต่อเนื่องสลับกับมีลมพายุ ส่งผลให้สินค้ากลุ่มผลไม้ ดอกและผลร่วงหล่นเสียหาย ขณะที่พื้นที่ภาคใต้มีฝนน้อย สภาพอากาศร้อน
นอกจากนี้ ราคาปัจจัยการผลิตหลายชนิดยังอยู่ในระดับสูงทั้งปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง และวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนชะลอการผลิต ลดปริมาณการผลิต
สินค้าพืชที่มีผลผลิตลดลง อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มังคุด และเงาะ
สินค้าพืชที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และลำไย
สำหรับข้าวนาปีผลิตทรงตัวเนื่องจากราคาอยู่ในเกณฑ์ดีจึงจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาผลผลิต แต่ในช่วงการเพาะปลูกเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงทำให้ผลผลิตบางส่วนได้รับความเสียหาย ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นไม่มากนัก
สาขาปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 3.2 สินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสุกร ไก่เนื้อ และไข่ไก่...น้ำนมดิบ ผลผลิตลดลง เนื่องจากแม่โคให้นมลดลง
สาขาประมง ขยายตัวร้อยละ 5.7 สินค้าที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น กุ้งขาวแวนนาไม...สินค้าที่มีผลผลิตลดลง สัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือ เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้น ปลานิลและปลาดุก ผลผลิตลดลง เนื่องจากสภาพอากาศ ปริมาณน้ำไม่เอื้ออำนวย และต้นทุนอาหารสัตว์อยู่ในระดับสูง
...
สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.0 เนื่องจากเกษตรกรมีการขยายเนื้อที่เพาะปลูก
สาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 2.2 สินค้าที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ไม้ยูคาลิปตัส ถ่านไม้ ครั่ง...ส่วนไม้ยางพารา ผลผลิตลดลงตามพื้นที่ตัดโค่นสวนยางพาราเก่า รังนก ลดลง เนื่องจากมีการส่งออกไปจีนลดลง.
คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน” เพิ่มเติม
สะ-เล-เต