ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมกับโปรตีนไหมไทย เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ด้าน วิศวกรรมเนื้อเยื่อและระบบนำส่งยาของการรักษา โรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม การผลิตหลอดเลือดเทียม เส้นประสาทเทียม ท่อน้ำตาเทียม การพิมพ์เนื้อเยื่อสามมิติ การทำเปลือกตาเทียม ทำแผ่นปิดแผลนำส่งยา การทำผิวหนังเทียม และกระดูกเทียม

โดยจุฬาฯได้นำมาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อให้เกิดการนำงานวิจัยจากหิ้งมาสู่ห้าง โดยมีบริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ภายใต้ การบ่มเพาะของบริษัท CU Enterprise และบริษัท CU Engineering Enterprise มาสานต่อนำไหมไทยออกสู่ตลาดและการประยุกต์ใช้งานทางการแพทย์ ถือเป็นความภูมิใจและความสำเร็จที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ทำการวิจัย ค้นคว้า นำงานวิจัยมาพัฒนาเพื่อการสร้างศักยภาพ และยกระดับมาตรฐานในอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงหม่อนไหมได้ดี ทั้งยังเป็นการสร้างนวัตกรรมทาง การแพทย์ให้มีศักยภาพรักษาผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึง

ด้านนายประกอบ เผ่าพงศ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า โครงการนี้จะยกระดับอาชีพเกษตรกร และสร้างมูลค่าให้อาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยง ไหมได้รับประโยชน์ ทั้งต่อยอดงานการอนุรักษ์พันธุกรรมต้นหม่อนที่มีอยู่กว่า 200 พันธุ์ด้วย.