พันธกิจ Net Zero Emission 2065 ที่รัฐบาลไทยไปให้สัตยาบันไว้ในเวที COP26 ประเทศไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ.2050
และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ.2065
เป็นความท้าทายไปถึงอนาคตของชาติ ทั้งในส่วนภาครัฐ และภาคเอกชนไทย
มาต่อกันที่เมื่อวานผมทิ้งท้ายเอาไว้ในเรื่อง พลังงานที่เป็นมิตรกับโลก
จากการไปดู โรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี ที่อยู่ในความดูแลของ บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ (XCPL) ในเครือ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จํากัด (มหาชน) (CK Power) ของไทยมี คุณธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ เป็นกรรมการผู้จัดการ
เป็นโรงไฟฟ้าแห่งแรกในแม่น้ำโขงตอนล่าง ที่สร้างขึ้นมาด้วยความร่วมมือของ รัฐบาล สปป.ลาว และรัฐบาลไทย
วัตถุประสงค์หลักเพื่อผลิตไฟฟ้าสนับสนุนการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย และ สปป.ลาว
อย่างที่เล่าไปแล้วคือ ลักษณะเป็นฝายน้ำล้นขนาดใหญ่ ปริมาณน้ำไหลมาเท่าไหร่ก็ปล่อยผ่านไปเท่านั้น ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงสูงขึ้นเฉพาะช่วงแขวงไซยะบุรี ไปถึงตอนใต้ของเมืองหลวงพระบาง
มีระดับน้ำใกล้เคียงกับระดับน้ำสูงสุดในฤดูน้ำหลากตามธรรมชาติ ส่วนตอนล่างของแม่นํ้าโขงจะมีระดับน้ำปกติตามธรรมชาติ
การออกแบบช่องทางให้ปลาว่ายขึ้นไปวางไข่ขยายสายพันธุ์ ไม่มีการกักเก็บตะกอนดินที่เป็นอาหารของสัตว์น้ำ จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มีกําลังผลิต 1,285 เมกะวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละ 7,400 ล้านหน่วย
แต่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ 0.00003 KCo2e ขณะที่ตัวเลขของ Thailand Grid อยู่ที่ 0.49990 KCo2e
ส่งกลับให้ประเทศไทย 1,225 เมกะวัตต์ อัตราค่าไฟฟ้าคงที่ (ตลอดระยะเวลาสัมปทาน 29 ปี) อยู่ที่ 2.16 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง และส่งให้ สปป.ลาว 60 เมกะวัตต์
...
ข้อมูล ณ วันนี้ ไทยเราผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ แบ่งเป็น ก๊าซธรรมชาติมากสุด 106,159 GWh หรือ 53% รองลงมาเป็น ถ่านหิน 32,928 GWh หรือ 16% พลังงานนำเข้า 33,099 GWh หรือ 17% พลังงานหมุนเวียน 19,799 GWh หรือ 10% มาจาก พลังงานน้ำ เพียง 6,025 GWh หรือ 3% เท่านั้น
เทียบกันแล้วต้นทุนจากพลังงานอื่นแพงกว่าพลังงานน้ำถึง 34–99%
หากเทียบราคาค่าไฟฟ้าแล้ว พลังงานน้ำถือว่ามีต้นทุนต่ำที่สุด
มีข่าวว่า สปป.ลาว วางยุทธศาสตร์แบตเตอรี่อาเซียน จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำรวมทั้งสิ้นกว่า 100 แห่ง เบื้องต้นจะดำเนินการก่อน 65-70 แห่ง
กลายเป็นโอกาสของนักลงทุนหลายชาติ ไม่ว่าจะเป็นไทย หรือจีนเองก็เริ่มรุกหนักแล้ว
ในส่วนของ CKPower ก็จะมีการขยับขยายการลงทุนด้านพลังงานเช่นกัน ทั้งในและต่างประเทศ
โดยเมื่อปี 2022 CKPower ผลิตไฟฟ้าสะอาด ที่ 9,883,066 MWh หรือ 4.5% ของกำลังผลิตในประเทศไทย และ คิดเป็น 46% ของการไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในไทย
มีรางวัลการันตีมากมาย อาทิ Asian Power Awards 2022, Power Utility Award จากโครงการ Fuel Gas System Optimization และ The Silver Awards Gas Engine Combined Cycle Award จากโครงการ
ดำเนินกลยุทธ์ธุรกิจเข้ากับเทรนด์ของโลกในอนาคต.
เพลิงสุริยะ