สถานการณ์ยางพารา ปี 2566 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) คาดว่าปริมาณผลผลิตยางโลกลดลงเหลือ 14.310 ล้านตัน เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน โรคระบาด และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยปริมาณการใช้ยาง 15.563 ล้านตัน ขยายตัวขึ้น 5% เกินกว่าปริมาณผลผลิต 1.25 ล้านตัน

ผลผลิตยางของไทย มกราคมที่ผ่านมา ผลผลิตลดลงกว่า 26% คาดว่า มี.ค.–เม.ย. จะมีผลผลิตยาง 177,100 ตัน และ 118,231 ตัน ตามลำดับ โดยปริมาณการส่งออกของไทยปีนี้จะมีประมาณ 4.403 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน แต่จะมีการใช้ยางในประเทศขยายตัว 9.9%

กระนั้นยังมีปัจจัยบวกที่เข้ามาเสริม เช่น ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนแตะระดับ 50.1 บ่งชี้ภาคการผลิตของจีนมีการขยายตัว และการยกเลิกนโยบาย Zero-COVID เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น กระตุ้นความต้องการยางมากขึ้น อุตสาหกรรมยานยนต์โลกจะเติบโต 5.33% อุตสาหกรรมถุงมือยางโลกจะเติบโต 6.9% รวมถึงค่าระวางเรือเริ่มกลับสู่สภาวะปกติ มีปริมาณตู้สินค้าเพียงพอ สามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้มากขึ้น ทั้งนี้ IMF คาดการณ์เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวที่ 2.9%

แต่ขณะนี้เทรนด์โลกให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ประเทศผู้นำเข้ายางรายใหญ่ ยุโรป สหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้ ผลิตภัณฑ์ยางต้องผลิตมาจากสวนยางที่ถูกกฎหมาย และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

กยท.จึงพยายามที่จะส่งเสริมสวนยางไทยให้เข้าสู่ระบบการรับรองป่าไม้ ตั้งแต่กระบวนการปลูกสร้างสวนยาง เก็บเกี่ยว แปรรูป กำหนดเป้าหมายพื้นที่สวนยาง 500,000 ไร่ ในปี 2565 และ 15 ล้านไร่ ภายใน 5 ปี ปัจจุบัน และได้ผลักดันให้เกิดการซื้อขายผลิตภัณฑ์จากยางพารามาตรฐานสากลผ่านระบบตลาดยางพาราของ กยท. ราคาขายจะสูงกว่าราคายางทั่วไป 6-10%

ทั้งนี้ กยท. โดยฝ่ายเศรษฐกิจยางทำหน้าที่รวบรวมคำสั่งซื้อไปยังตลาดกลางฯ เพื่อหาผลผลิตยางพรีเมียมที่ผ่านมาตรฐาน ขณะนี้มีออเดอร์ยางพรีเมียมในระยะ 1–5 ปีแล้ว

...

การซื้อขายยางพรีเมียมจะช่วยให้เกษตรกรที่ทำสวนยางตามมาตรฐานสากลมีตลาดรองรับ สามารถขายยางได้ในราคาสูงกว่ายางทั่วไป และผู้ซื้อจะได้รับยางที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานรับรอง ลดความเสี่ยงของปัญหาในกระบวนการผลิต และเพิ่มคุณภาพของสินค้าที่นำยางไปเป็นวัตถุดิบด้วย.

สะ-เล-เต