“ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีบ้านเราส่วนใหญ่มักเป็นสินค้าเกษตรแปรรูป ตามเทรนรักษ์สุขภาพ ในจำนวนนี้มีทั้งตัวเกษตรกรเอง โดยเฉพาะยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ที่ยกระดับตัวเองขึ้นมาเป็นสตาร์ตอัพ และสตาร์ตอัพหน้าใหม่อื่นๆ แต่ด้วยโลกที่ก้าวไปข้างหน้าเรื่อยๆ แม้จะเผชิญกับวิกฤติโควิด แต่ในวิกฤติมีโอกาส เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยน ภาคธุรกิจมีการปรับตัว ปรับกลยุทธ์เพื่อให้อยู่รอด เกิดเทรนด์หรือกระแสใหม่ๆที่มีการใช้นวัตกรรมเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เอสเอ็มอีบ้านเราต้องรู้เท่าทัน”

“กู๋แมท” สุวิทย์ เอื้อศักดิ์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท แบรนด์ แมทเทอร์ แพลน จำกัด ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญการพัฒนากลยุทธ์แบรนด์และการตลาด ผู้มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ในการสร้างแบรนด์ดังมามากกว่า 150 แบรนด์ บอกถึงการเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำตลาดของธุรกิจในบ้านเรา

ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา คนเริ่มมองเห็นคุณค่าการสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์มากขึ้น กลยุทธ์การตลาดจึงเปลี่ยนจากการเน้นทำโฆษณาเป็นการสร้างคุณค่าของแบรนด์มากกว่าการออกแบบโลโก้ สินค้าเอสเอ็มอีเกษตรจึงต้องทำวิจัยตลาด เพื่อให้รู้ความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ทำตลาดที่เหมาะสม

...

เพราะปัจจุบันผู้บริโภคมีความภักดีในแบรนด์น้อยลง เนื่องจากมีคู่แข่งเป็นตัวเลือกมากขึ้น ขณะที่สินค้าที่ออกมาก็มีความหลาก หลายและตอบโจทย์ผู้บริโภคได้มากขึ้นด้วย

ขณะเดียวกันต้องทำการตลาดให้ยั่งยืน มีตัวตนที่ชัดเจน อย่ามองว่าการสร้างแบรนด์คือการขายของ ต้องทำให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าเพราะรักในแบรนด์ ไม่ใช่ซื้อเพื่อเปรียบเทียบกับเจ้าอื่น เพราะหากใช้กลยุทธ์ของราคาถูกมาดึงดูด สินค้าก็จะถูกวางตำแหน่งของเซลส์ลดราคา ทำให้โดนเปรียบเทียบกับเจ้าอื่น

แต่ถ้าเราสร้างแบรนด์ให้มีตัวตนด้วยการสร้างคุณค่าของแบรนด์นั้น จะทำให้ลูกค้าพร้อมที่จะจ่ายและอยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับแบรนด์มากกว่า โดยการสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ ต้องตอบสนองในเรื่องของการสามารถใช้งานหรือบริโภคได้ดีสมราคา แต่ถ้าใช้งานดีตามแบรนดิ้ง คือต้องให้ใช้งานได้ดีมากกว่าราคา จะทำให้เกิดการยอมรับ ในที่สุดจะกลายเป็นค่านิยม

ขณะเดียวกันหากสินค้าไม่ตอบสนองความต้องการ ใช้ไม่ได้ผลดี จะทำให้เกิดไวรัล บอกต่ออันส่งผลกระทบกับแบรนด์ตามมา

กู๋แมท อธิบายต่อไป สำหรับแบรนด์เก็ตติ้ง แนวทางใหม่สร้างแบรนด์ ที่ตอบโจทย์ตลาดปี 2566 สิ่งสำคัญคือจะต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์มีความเห็นอกเห็นใจลูกค้า โดยการทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าในยุคถัดไป จะมีทิศทางเป็นการทำตลาดแบบรายบุคคลมากขึ้น ฉะนั้นต้องทำวิจัยเพื่อเข้าไปค้นหา และทำความรู้จักกับพฤติกรรมของลูกค้ามากขึ้น ต้องรับรู้ความต้องการของลูกค้าในทุกเรื่อง และเรียนรู้การเชื่อมโยงแบรนด์ กับการตลาดและบุคคลได้อย่างไร นำเอาข้อมูลในการคิดวิเคราะห์ หรือเทรนด์ของการคิดกลยุทธ์มาใช้ให้สอดคล้องกับความ ต้องการของผู้บริโภค แล้วจึงเอาแบรนด์เข้ามาครอบ มีตัวอย่างให้เห็นแล้วในอาหารเสริมหลายชนิด ที่รวบรวมเอาสารพัดคุณประโยชน์ไว้ในสินค้าชิ้นเดียว

“เราไม่จำเป็นพยายาม เป็นผู้นำเทรนด์ แต่จะต้อง เข้าใจและค้นหาความต้องการของผู้บริโภคให้เจอแบรนด์ควรต้องให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับกลุ่มคนที่มีรสนิยมเดียวกันก่อน ถ้าแบรนด์ไปให้ ความสำคัญกับกลุ่มคนทั่วไป เป็นหลัก จะทำให้ต้องใช้เม็ดเงินเยอะในการสร้างแบรนด์ให้มีตัวตน อย่าไปยอม อะไรบางอย่างในกลไกของการซื้อสื่อ แต่ต้องเป็นผู้นำในการ ทำวิจัย ซึ่งพฤติกรรมของผู้ประกอบการบ้านเราส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจ และไม่เห็นความสำคัญของการทำวิจัย จึงไปทุ่มให้กับ การจ่ายโฆษณา พีอาร์ หรืออีเวนต์ ที่อาจไม่เกิดผลลัพธ์อะไรกับแบรนด์นัก หรือแม้แต่การจ้างบล็อกเกอร์ที่มีผู้ติดตามเยอะ แต่ผู้ติดตามก็อาจไม่ใช่ตัวจริง ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์”.

กรวัฒน์ วีนิล