ต่อจากตอนที่แล้ว...งานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรของภาคใต้ตอนบน...เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพผลิตยางพารา โดยใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การจัดการโรครากขาวในพืชแซมปาล์มน้ำมันช่วงก่อนให้ผลผลิต การให้ปุ๋ยตามผลค่าวิเคราะห์ธาตุอาหารในใบ

การจัดการโรครากเน่าโคนเน่าในปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การปลูกผักเหลียงและผักพูมร่วมกับยางพารา การปลูกหมาก ลางสาด ทุเรียน ลังแข จำปาดะ ทุเรียนสาลิกา ส้มโอทับทิมสยาม สะตอ ทุเรียน โกโก้ ขนุน และลางสาดเกาะสมุย ร่วมกับปาล์มน้ำมัน และการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานการผลิตมะพร้าว

ภาคใต้ตอนล่าง...เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา ในการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันตามผลวิเคราะห์ใบ การใช้ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในทุกระดับความเหมาะสมของดิน การปลูกข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์สงขลา 84–1 สายพันธุ์ต้นจำปาดะพันธุ์ดี ส้มจุก พืชผักพื้นบ้าน

การใช้กากสาคูเพาะเห็ดแครง เห็ดนางรม เห็ดหูหนู และเห็ดขอนขาว การปลูกกาแฟโรบัสตาร่วมกับยางพารา ทุเรียน และลองกอง และการปลูกพริกไทยพันธุ์ซีลอนร่วมกับมะพร้าวน้ำหอม และมะพร้าวอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ยังมีการผลิตส้มโอหอมควนลังเชิงพาณิชย์ จนพัฒนาเป็น “รำแดงโมเดล เกษตรตามศาสตร์พระราชา เพื่อพัฒนาการผลิตพืชของชุมชนเกษตรที่พอเพียงและยั่งยืน” และสายพันธุ์บัวหลวงเพื่อผลิตเมล็ด 4 สายพันธุ์ พันธุ์บัวหลวงเพื่อผลิตดอก 3 สายพันธุ์ และพันธุ์บัวหลวงเพื่อผลิตราก/ไหล 2 สายพันธุ์

และจากการประเมินผลกระทบการวิจัย 11 โครงการ จาก 34 โครงการ ได้แปลงต้นแบบเทคโนโลยีระดับภาคสนาม รวม 300 แปลง การพัฒนากำลังคนเป็นนักวิจัย 230 คน ผู้นำเกษตรกร 373 คน เกษตรกรที่มีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น รวม 1,717 คน จำนวนคนที่ได้รับถ่ายทอดความรู้ 10,090 คน

...

งานวิจัยใช้งบประมาณรวม 65 ล้านบาท สามารถก่อให้เกิดผลตอบแทนเกษตรกรมูลค่ารวมทั้งสิ้น 429 ล้านบาท และยังส่งผลดีต่อความมั่นคงทางอาหาร สร้างเสถียรภาพทางรายได้เกษตรกรอีกด้วย.

สะ-เล-เต