หลังกระแสน้องมิลลิโชว์กินข้าวเหนียวมะม่วงจนกลายเป็นซอฟต์เพาเวอร์ของไทย ส่งผลให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ทุกกระทรวงส่งเสริมซอฟต์เพาเวอร์

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 สงขลา ขานรับนโยบายในการพัฒนาการผลิตพืชพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โดยสร้างการมีส่วนร่วม พร้อมการสานพลังความคิดและการขยายอิทธิพลทางความคิด

จากการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนผ่านเวที “เน็กซ์นอร์มอล อนาคตการเกษตรของแต่ละจังหวัด” ที่ได้ดำเนินการ 2 ส่วน 1) การสร้างการมีส่วนร่วม พร้อมการสานพลังความคิดและการขยายอิทธิพลทางความคิด โดยในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมาเวทีเน็กซ์นอร์มอล

จ.สงขลา วางเป้าหมายเมืองเกษตรสร้างสุข ให้เกิดความสมดุล พอเพียง ยั่งยืน ปรับวิธีทำเกษตรให้เหมาะสมกับการเติบโต ใช้ตลาด ใช้ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม ภูมิปัญญาที่เหมาะสมกับพื้นที่

จ.ตรัง เน้นท่องเที่ยวเชิงเกษตรสร้างรายได้ ชุมชนเข้มแข็ง เกษตรพอเพียง มั่นคง ยั่งยืน ใช้งานวิจัยนำการผลิต ปรับระบบทำงานร่วมกันระหว่างรัฐ ชุมชนและผู้ประกอบการ ให้มีจิตสำนึกดีต่อสังคมตั้งแต่เยาวชน

จ.นราธิวาส ให้ความสำคัญกับมังคุด ทุเรียนเพื่อการส่งออก การเชื่อมเกษตรแปลงใหญ่ การสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน การพัฒนาตลาดออนไลน์ พัฒนาระบบขนส่งในพื้นที่ ฐานข้อมูลผลิต-ตลาด กระจายการผลิตนอกฤดูได้ การแก้ปัญหาเอกสารที่ดินรองรับจีเอพี ให้ความรู้อย่างเข้มข้นต่อเนื่อง และสร้างครูเกษตรกร

จ.พัทลุง เน้นการดำเนินธุรกิจเกษตรพันธะสัญญาอย่างมืออาชีพ จัดทำระบบฐานข้อมูลสินค้าหลักๆที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถนำไปเจรจาซื้อขายล่วงหน้ากับผู้ซื้อรายใหญ่ได้ การรับรองมาตรฐานจีเอพี วางแผนรายการสินค้า พัทลุงเมืองสมุนไพร เกษตรอินทรีย์ เกษตรกรรมยั่งยืน เมืองท่องเที่ยวเกษตร

...

จ.ยะลา เน้นการพัฒนาทุเรียน มังคุดส่งออก ท่องเที่ยววิถีใหม่ และท่องเที่ยวลิ้มรสชาติผลไม้ในสายหมอกเมืองยะลา ลิ้มรสชาติผลไม้พร้อมเรื่องราวออนไลน์ที่สวยงามตื่นตา

2) นำพืชมาเชื่อมโยงอัตลักษณ์ วิถีชุมชน และภูมิสังคม สวพ.8 มีโครงการวิจัยด้านพืชอัตลักษณ์ถิ่นใต้ที่เป็นเสน่ห์ของพื้นที่ เช่น ละมุดเกาะยอ กาแฟใต้ พืชชุ่มน้ำ กระจูด บัว ลูกหยี ลังแข และพืชพื้นเมืองต่างๆ.

สะ-เล-เต