เรียกว่าเทศกาลเก็บเกี่ยวกัญชง ปีที่ 1 ก็ว่าได้ เมื่อไตรมาส 2/2565 นี้ นับเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวแรกของผลิตผลช่อดอกกัญชงในประเทศไทย เมื่อเกษตรกร ผู้ประกอบการ ที่ได้รับอนุญาตปลูกทั่วประเทศได้ประเดิมลงมือปลูกกันมาอย่างต่อเนื่องตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา โดยบริษัทชั้นนำในแวดวงธุรกิจกัญชง อาทิ บมจ.ดีโอดี ไบโอเทค โดยสยาม เฮอร์เบิลเทค บมจ.อาแอนด์บี ฟู้ดซัพพลาย (RBF) บจก.ซีบีดี ไบโอไซเอนซ์ เอ็มเจบี เฮมพ์ และอีกหลายต่อหลายรายซึ่งได้ฤกษ์ทยอยเก็บเกี่ยวช่อดอกครั้งแรกกันไปแล้วตามที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ โดยมีทั้งปลูกเองและรูปแบบ contract farming

โดยจากการสำรวจคุณภาพช่อดอกของผู้ปลูกภายใต้ระบบเรือนกระจกแบบ evaporation ได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ทั้งปริมาณผลผลิตต่อต้น (yield) ที่ได้น้ำหนักช่อดอกตามเกณฑ์มาตรฐาน และปริมาณสารซีบีดี (CBD) ที่สูงอย่างไม่น่าเชื่อว่าปลูกภายในสภาวะแวดล้อมของประเทศไทยเรา อาทิ เอ็มเจบี เฮมพ์ (MJB Hemp) ในสายพันธุ์ EHFGP1 เก็บเกี่ยวไปเมื่อ มีนาคม 2565 ได้น้ำหนักสดเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5 กิโลกรัมต่อต้น วัดค่า CBD ด้วยเครื่องมือ HPLC ได้สูงถึงร้อยละ 17.7 เป็นต้น ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวยังได้มีการนำมาปลูกเพื่อทดสอบ ณ ศูนย์ทดสอบ วิจัยและพัฒนากัญชงอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีการศึกษาวิธีปลูกหลากหลายรูปแบบ จากผลการทดสอบเบื้องต้นพบว่ามีการปรับตัวกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ของเมืองไทยได้เป็นอย่างดี ให้ผลิตช่อดอกแห้งต่อต้นสูง และสาร CBD ราวร้อยละ 18 และมีสาร THC ราวร้อยละ 0.6

ในบรรดาผู้กระกอบการที่เอ่ยนามข้างต้น สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือผู้ปลูกกัญชงทุกราย ล้วนแล้วแต่ใช้เมล็ดพันธุ์เดียวกันทั้งสิ้น คือเมล็ดสายพันธุ์ FGP ซึ่งนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา โดยพันธุ์ยอดนิยมจากการสำรวจคือ EHFGP1 หรือ FGP เบอร์ 1 ซึ่งเป็นที่คุ้นหู้กันดีสำหรับแวดวงผู้ปลูกกัญชง โดยจากข้อมูลของ Frontier Genetics Partner เจ้าของสายพันธุ์ระบุว่าทาง FGP มีเมล็ดมากกว่า 12 สายพันธุ์ มีฐานเพาะปลูกอยู่กว่า 5 แห่งในหลายภูมิภาคทั่วโลก รวมทั้ง 3 แห่งในสหรัฐอเมริกาและฮาวาย ประเทศเม็กซิโก เฮติ โคลอมเบีย เป็นต้น โดยมีทั้งพันธุ์ซีบีดี และพันธุ์น้ำมัน ปัจจุบันได้ขายผ่านมายังประเทศไทยและโซนเอเชียรวมแล้วนับล้านเมล็ด แสดงถึงความแข็งแกร่งของสายพันธุ์ที่โดดเด่นในเรื่องคุณภาพและความทนทาน ซึ่งนอกจากได้สร้างมาตรฐานให้กับธุรกิจปลูกแล้วยังรวมถึงธุรกิจกลางถึงปลายน้ำ เช่น โรงผลิตสกัดสารซีบีดีและเจ้าของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งต้องกำหนดคุณภาพและมาตรฐานที่สอดคล้องกันแต่แรกเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ออกมาตรงใจ ให้ใช้ได้กับสูตรและ SOP ที่พัฒนาไว้ ไม่คลาดเคลื่อน

ผลผลิตที่ออกมาเหนือความคาดหมายต้องชื่นชมฝีมือของเกษตรกรไทยที่มีภูมิปัญญาการเพาะปลูกพืชนานาพันธุ์มายาวนาน แม้แต่พืชตะวันตกแปลกใหม่อย่าง อโวคาโด ก็เห็นพี่น้องเกษตรกรเราปลูกสำเร็จได้ผลผลิตเป็นกอบเป็นกำกันมาแล้ว การนำ Agri-Tech หรือเทคโนโลยีการเกษตรมาใช้ในกระบวนการเพาะปลูก ไม่ว่าจะเป็นระบบการให้น้ำ ให้ธาตุอาหาร ควบคุมอุณหภูมิ ให้แสงสว่าง ล้วนแล้วแต่ได้รับการยกระดับด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ระบบควบคุมอัตโนมัติ ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ผู้เพาะปลูกได้เป็นอย่างดี

ทั้งหมดนี้คือเรื่องของความแม่นยำทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการทุกรายให้ความสำคัญ เพราะเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ถูกควบคุมอย่างใกล้ชิด การแข่งขันไม่น้อย ผิดพลาดแม้แต่นิดเดียวอาจส่งผลกระทบถึงความสามารถในการคืนทุน การใช้ฐานข้อมูลหรือดาต้าเหล่านี้ ประกอบกับเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงเป็นจุดสำคัญที่ผู้ประกอบการรายย่อยและเกษตรกรทั่วประเทศที่มีความสนใจควรนำไปพิจารณาศึกษาประกอบ

การปลูกกัญชงสายพันธุ์ EHFGP#1 แบบกลางแจ้ง
การปลูกกัญชงสายพันธุ์ EHFGP#1 แบบกลางแจ้ง
ลักษณะช่อดอกกัญชงสายพันธุ์ EHFGP#1 ที่ปลูกแบบกลางแจ้ง
ลักษณะช่อดอกกัญชงสายพันธุ์ EHFGP#1 ที่ปลูกแบบกลางแจ้ง

ขอบคุณข้อมูลจาก

WWW.FGPTHAILAND.COM 
เอ็มเจบี เฮมพ์ (MJB Hemp) โดย นายทวีภัณฑ์ มาภิวงค์
บจก. เอฟจีพี (ไทยแลนด์)
ศูนย์ทดสอบ วิจัยและพัฒนากัญชงอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJB Hemp