ผศ.ดร.พีรพล เวทีกูล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วย ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร รศ.พญ.สติมัย อนิวรรณน์ พญ.เกศินี เธียรกานนท์ จากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมด้วยศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม จุฬาฯ (UTC) และบริษัท อีเอสเอ็ม โซลูชัน จำกัด ร่วมกันพัฒนา AI ตรวจจับความผิดปกติในทางเดินอาหาร (DeepGI-Deep Technology for Gastrointestinal Tracts) ได้สำเร็จ เพื่อช่วยตรวจจับติ่งเนื้อที่มีความผิดปกติในลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีความแม่นยำมากกว่าร้อยละ 90 พร้อมให้การวินิจฉัยชนิดของติ่งเนื้อว่าเป็น ชิ้นเนื้อที่เป็นอันตราย (Neoplastic) หรือไม่เป็นอันตราย (Hyperplastic) อย่างแม่นยำ
ขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขอจดสิทธิบัตรระดับชาติและคาดหวังว่านวัตกรรมนี้จะถูกนำไปใช้ในโรงพยาบาลอื่นๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาลชนบทที่ขาดแคลนบุคลากรและเทคโนโลยี สถานพยาบาลที่สนใจติดต่อได้ที่อีเมล peerapon.v @chula.ac.th หรือเว็บไซต์ https://deepgi.cp.eng.chula.ac.th/