สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับปี 2563 

สาขาพืช มีการขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับปี 2563 พืชสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย ทุเรียน และเงาะ มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอ

สาขาปศุสัตว์ หดตัวร้อยละ 2.4 ไก่เนื้อและไข่ไก่ ผลผลิตลดลงเนื่องจากความต้องการบริโภคชะลอตัวจากการระบาดของโควิด ผลผลิตสุกรลดลง เนื่องจากเกษตรกรปรับลดปริมาณการเลี้ยงเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น และความกังวลสถานการณ์ระบาดของโรคในประเทศเพื่อนบ้าน

โคเนื้อผลผลิตเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของรัฐบาล และน้ำนมดิบเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี

สาขาประมง หดตัวร้อยละ 3.0 เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน ชาวประมงนำเรือออกไปจับสัตว์น้ำลดลง รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานจากการระบาดของโควิด กุ้งทะเลเพาะเลี้ยงลดลง เนื่องจากราคาไม่จูงใจ ประกอบกับมีการระบาดของโรคขี้ขาว ไวรัสตัวแดงดวงขาว หัวเหลือง

ประมงน้ำจืด ปลานิลมีผลผลิตลดลงเล็กน้อยเนื่องจากน้ำท่วม ปลาดุกผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอและไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.7 เนื่องจากมีการจ้างบริการเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ทางการเกษตรเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น

สาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 1.5 ไม้ยูคาลิปตัส ตลาดจีน ญี่ปุ่น มีความต้องการอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ และเชื้อเพลิงชีวมวล รังนกของไทยมีคุณภาพ ตลาดสิงคโปร์ จีนต้องการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถ่านไม้มีการส่งออกเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

...

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.–3.0 และจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในสาขา.

สะ–เล–เต