สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ สัปดาห์นี้มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการประกาศแก้ไข พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 7 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562 มีผลบังคับใช้เมื่อผลกำหนด 30 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป นับว่าเป็นข่าวดีของบรรดาลูกจ้าง เนื่องจากการแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงานครั้งนี้ เพื่อให้กฎหมายสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
นอกจากนี้ ยังเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับลูกจ้างในหลายส่วน เช่น การคิดดอกเบี้ยในระหว่างนายจ้างผิดนัด การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง เพิ่มสิทธิการลากิจและลาคลอด การกำหนดค่าจ้างจะต้องเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างผู้ชายหรือผู้หญิง เป็นต้น โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. นายจ้าง เสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ในกรณีท่ีนายจ้างไม่คืนหลักประกัน ไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทางานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด หรือเงินท่ีนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายภายในเวลาที่กำหนด ไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการ ค่าชดเชย หรือ ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 9
2. ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง หรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอน หรือควบกับนิติบุคคลใด หากมีผลทำให้ลูกจ้างคนหนึ่งคนใด ไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ การไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจาก ลูกจ้างคนนั้น และให้สิทธิต่างๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมคงมีสิทธิต่อไป โดยนายจ้างใหม่ ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าท่ีอันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 13
...
3. ให้ลูกจ้างมีสิทธิลา เพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 34
4. ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลา เพื่อคลอดบุตร ไม่เกิน 98 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 41
5. ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลา ในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง ในอัตราเท่ากันไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นชายหรือหญิง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 53
6. ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ด้วยเหตุหน่ึงเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง จนทำให้นายจ้างไม่สามารถ ประกอบกิจการได้ตามปกติ ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาท่ีนายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้าง ทำงาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 75
7. เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 118(5)
8. เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณี ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีข้ึนไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 118(6)
สุดท้ายนี้ แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดสิทธิหน้าที่ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไว้อย่างไรก็ตาม แต่ก็เป็นความพึงพอใจของทั้งสองฝ่ายว่า จะยุติปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างอย่างไร ให้เร็วที่สุด ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์สูงสุด แต่เสียหายน้อยที่สุด ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความเข้าใจกัน เห็นอกเห็นใจ ซึ่งกันและกัน ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หากทั้งสองฝ่ายไม่ยอมผ่อนผันเงื่อนไขลงบ้าง เชื่อว่าปัญหาย่อมไปยุติในชั้นศาล ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากครับ
สำหรับท่านที่มีคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายและต้องการความช่วยเหลือ หรือมีเรื่องราวดีๆ อยากแบ่งปันประสบการณ์ เมล์มาหาผมได้ที่ “คุยกับคนดัง” talktoceleb@trendvg3.com ได้เลยครับ
Facebook: ทนายเจมส์ LK