รอยเชื่อมต่อทางธรณีวิทยาที่อายุน้อยที่สุดและแคบที่สุดแห่งหนึ่งระหว่างแอฟริกาและอเมริกาใต้คือบริเวณพื้นที่โค้งงอหรือศอกทางตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล ซึ่งอยู่ติดกับชายฝั่งของแคเมอรูนในปัจจุบัน ตามแนวอ่าวกินี โดยทวีปทั้ง 2 คืออเมริกาใต้และแอฟริกา มีลักษณะทอดยาวต่อเนื่องกันตามแนวแคบดังกล่าว ทำให้สัตว์ที่อยู่ทั้ง 2 ฝั่งของรอยเชื่อมต่อแห่งนี้เคลื่อนตัวข้ามไปข้ามมาได้
ล่าสุด ทีมวิจัยนานาชาตินำโดยนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นเมธอดิสต์ ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา เผยการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์ในยุคครีเตเชียสตอนต้นมากกว่า 260 รอยในบราซิลและแคเมอรูน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่บนบกได้ข้ามไป-มาระหว่างทวีปอเมริกาใต้และแอฟริกาได้อย่างอิสระเมื่อหลายล้านปีก่อน นักบรรพชีวินวิทยาระบุว่ารอยเท้าเหล่านี้เหยียบย่ำลงในโคลน ตะกอนตามแม่น้ำ และทะเลสาบโบราณ เมื่อ 120 ล้านปีก่อนบนมหาทวีปเดียวที่เรียกว่ากอนด์วานา
ซากฟอสซิลรอยเท้าไดโนเสาร์พบว่าส่วนใหญ่เป็นของไดโนเสาร์กลุ่มเธอโรพอด (Theropods) ที่มี 3 นิ้ว ประกอบไปด้วยไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ทั้งหมด เช่น ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ หรือ ที.เร็กซ์ ขณะที่รอยเท้าบางส่วนมาจากซอโรพอด (Sauropods) ได้โนเสาร์คอยาว หางยาว เดินด้วย 4 ขา รวมถึงมีรอยเท้าของออร์นิธิสเชียน (Ornithischians) คือพวกที่มีกระดูกเชิงกรานแบบนก.
Credit :Southem Methodist University
...