ผลการศึกษาชิ้นใหม่ชี้ว่า แท่นหินใจกลางสโตนเฮนจ์ หนึ่งในแหล่งโบราณดคีที่ยังคงเป็นปริศนา ถูกนำมาจากสกอตแลนด์เป็นระยะทางกว่า 700 กิโลเมตร

ผลการศึกษาชิ้นใหม่ชี้ว่า แท่นหินใจกลางสโตนเฮนจ์ หนึ่งในแหล่งโบราณดคีที่ยังคงเป็นปริศนา ถูกนำมาจากทางตอนเหนือของสกอตแลนด์เป็นระยะทางกว่า 700 กิโลเมตร ไม่ใช่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเวลส์อย่างที่เข้าใจกันก่อนหน้านี้

การค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่าการสร้างสโตนเฮนจ์ เกิดจากความร่วมมือกันที่ยิ่งใหญ่กว่าที่นักวิทยาศาสตร์คิดไว้มาก นอกจากนี้ยังหมายความว่าอนุสรณ์สถานโบราณซึ่งอยู่ใกล้เมืองซอลส์บรี ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษนั้น สร้างด้วยหินจากทุกพื้นที่ของเกาะบริเตนใหญ่ การค้นพบนี้ยังชี้ให้เห็นว่ายุคหินใหม่ของเกาะบริเตนใหญ่ เป็นสังคมที่เชื่อมโยงกันและก้าวหน้ากว่าหลักฐานก่อนหน้านี้มาก

ทั้งนี้ ระยะห่างระหว่างสโตนเฮนจ์ และตอนเหนือสุดของสกอตแลนด์อยู่ที่ประมาณ 700 กิโลเมตร

การวิจัยนี้ดำเนินการโดยแอนโธนี คลาร์ก นักศึกษาปริญญาเอกชาวเวลส์ ซึ่งปัจจุบันทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคอร์ตินในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย การค้นพบนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง จนได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลกอย่าง "เนเจอร์"

อย่างไรก็ตาม คลาร์กชี้ให้เห็นว่าหินที่เหลือในพื้นที่เกือกม้าตรงกลาง ซึ่งเรียกว่าบลูสโตน มาจากเวลส์ ส่วนหินขนาดใหญ่ในวงนอกนั้นมาจากอังกฤษ

ในปี 1923 เฮนรี เฮอร์เบิร์ต โธมัส นักธรณีวิทยาชาวเวลส์ ระบุว่า หินบลูสโตน ซึ่งเป็นหินที่กระจายอยู่ในวงล้อมของหินวงนอกของสโตนเฮนจ์ มาจากเนินเขาพรีเซลี ในเขตเพมโบรคเชอร์ของเวลส์ ส่วนหินแท่นที่อยู่ตรงกลางนั้นทำ เป็นหินคนละก้อนกัน แต่เชื่อกันมาโดยตลอดว่ามาจากพื้นที่เดียวกัน จนกระทั่งเมื่อ 20 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์เริ่มตั้งคำถามถึงที่มาของหินก้อนนี้เป็นครั้งแรก

...

ความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้เกิดขึ้นจากทีมงานจากมหาวิทยาลัยเคอร์ติน ซึ่งวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของเศษหินที่หลุดออกจากหินแท่น การระบุอายุ โดยองค์ประกอบและอายุของหินจากส่วนต่างๆ ของโลก ค่อนข้างจะแตกต่างกันอย่างมาก เช่นเดียวกับลายนิ้วมือของมนุษย์

ทีมงานจากออสเตรเลียสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลหินทั่วโลกที่ครอบคลุมที่สุดแห่งหนึ่ง และพบว่าฐานข้อมูลที่ตรงกันมากที่สุดคือฐานข้อมูลจากแอ่งออร์คาเดียน ซึ่งรวมถึงภูมิภาคเคธเนสส์, ออร์กนีย์ และ มอเรย์ เฟิร์ธ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสกอตแลนด์

การก่อสร้างสโตนเฮนจ์เริ่มขึ้นเมื่อ 5,000 ปีก่อน โดยมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมในช่วงสองพันปีต่อมา เชื่อกันว่าหินบลูสโตนส่วนใหญ่เป็นหินก้อนแรกที่สร้างขึ้นที่บริเวณนี้

ดร.โรเบิร์ต อิกเซอร์ จากมหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน ซึ่งมีส่วนร่วมในการศึกษาครั้งนี้ กล่าวว่า งานวิจัยนี้กระตุ้นให้เกิดคำถามสำคัญสองข้อ ได้แก่ หินแท่นถูกเคลื่อนย้ายจากทางตอนเหนือของสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นระยะทางกว่า 700 กิโลเมตร ไปยังสโตนเฮนจ์ได้อย่างไร และที่น่าสนใจกว่านั้นคือ เหตุใดจึงถูกเคลื่อนย้าย ขณะที่ระยะทางดังกล่าวถือเป็นระยะทางการเดินทางที่ไกลที่สุดเท่าที่มีการบันทึกได้ สำหรับหินที่ถูกนำมาใช้ในโบราณสถานในช่วงเวลาดังกล่าว.

ที่มา BBC

อ่านข่าวต่างประเทศเพิ่มเติม https://www.thairath.co.th/news/foreign