พฤติกรรมการบินของ “นก” และ “ผึ้ง” เวลาที่บินกันเป็นฝูงดูแล้วน่าทึ่งเพราะพวกมันไม่บินชนกันและก็ไม่ได้บินห่างจากฝูง บางครั้งบินเรียงแถวสร้างรูปแบบที่สวยงาม ซึ่งมีประโยชน์ในการต่อกรกับพวกนักล่า พฤติกรรมเหล่านี้ได้ให้แรงบันดาลใจแก่นักพัฒนาหุ่นยนต์ เช่น ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์ ในเนเธอร์แลนด์ เผยถึงการสร้างโดรนจิ๋วที่เลียนแบบพฤติกรรมการบินของแมลงอย่างผึ้งหรือนก
ทีมเรียกปฏิบัติการทดลองนี้ว่า Swarming Lab เป็นห้องทดลองแห่งแรกของเนเธอร์แลนด์ที่วิจัยเกี่ยวกับฝูงโดรนขนาดเล็กมีน้ำหนักเท่ากับลูกกอล์ฟหรือไข่ ที่เลียนแบบแมลงเพื่อทำภารกิจต่างๆ ตั้งแต่สืบหารอยรั่วของก๊าซในโรงงาน ไปจนถึงค้นหากู้ภัย วิธีการทำงานคือโดรนหลายลำติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับก๊าซจะบินไปรอบๆโรงงานโดยอัตโนมัติ จนกว่าโดรนลำหนึ่งจะตรวจพบก๊าซ ในขณะที่ติดตามกลิ่นก๊าซ โดรนจะใช้เซ็นเซอร์เรียกโดรน ลำอื่นๆมาช่วยค้นหาที่มาของกลิ่น หรือใช้โดรนตรวจจับไฟป่า ค้นหาและกู้ภัยในพื้นที่ขนาดใหญ่ได้อย่างต่อเนื่อง ทีมวิจัยตั้งเป้าจะส่งฝูงโดรนจิ๋วที่บินได้เองแบบอัตโนมัติจำนวน 100 ลำขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อทำภารกิจต่างๆได้ตลอดเวลา โดรนจะลงจอดบนแท่นชาร์จพลังงานด้วยตัวเอง และบินขึ้นอีกครั้งโดยที่มนุษย์ไม่ต้องเข้ามายุ่งเกี่ยว อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยากมากที่จะคาดเดาว่าฝูงโดรนทั้งหมดจะมีพฤติกรรมอย่างไร อีกทั้งขนาดเล็กของหุ่นยนต์ยังขัดขวางความสามารถในการบรรทุกอุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น เซ็นเซอร์
...
ทั้งนี้ Swarming Lab ไม่ใช่กลุ่มแรกที่คิดค้นโดรนบินแบบฝูง เนื่องจากเมื่อปี 2565 นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง ในจีน ประสบความสำเร็จในการบินโดรนอัตโนมัติ 10 ลำผ่านป่าไผ่หนาทึบมาแล้ว.
อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่