มนุษย์ยุคแรกสามารถเล่าเรื่องราวที่ซับซ้อนในสังคมและชีวิตในช่วงเวลาที่พวกเขาดำรงอยู่ ผ่านงานศิลปะที่อาจช่วยให้คนรุ่นหลังเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนา การทางปัญญาของมนุษย์ได้ ล่าสุด ทีมวิจัยนำโดยนักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นครอส ในออสเตรเลีย และสำนักงานวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติอินโดนีเซีย เผยค้นพบสิ่งที่ทำให้เชื่อว่าเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
ศิลปะดังกล่าวเป็นภาพมนุษย์ 3 คนรวมตัวกันอยู่รอบๆ หมูแดงตัวใหญ่ ซึ่งมีขนาด 92 × 38 เซนติเมตร มีเม็ดสีแดงเข้มเฉดเดียว พบในถ้ำเลอัง การัมปูอัง บนเกาะสุลาเวสีใต้ ในอินโดนีเซีย และยังมีภาพหมูป่าอื่นๆในถ้ำอีกด้วย นักวิจัยเผยว่า การวางรูปวาดที่อยู่ข้างๆกัน วางตำแหน่งให้สัมพันธ์กัน และวิธีที่พวกเขาโต้ตอบกัน ถือเป็นการจงใจอย่างชัดเจน มีเรื่องราวที่ถูกบอกเล่า แต่นักวิจัยไม่แน่ชัดว่าเรื่องราวนั้นคืออะไร แต่สามารถวิเคราะห์และระบุได้ว่าภาพวาดเหล่านี้ถูกวาดขึ้นเมื่อประมาณ 51,200 ปีก่อน คาดว่าน่าจะวาดโดยมนุษย์กลุ่มแรกที่อพยพผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนจะมาถึงออสเตรเลียเมื่อราว 65,000 ปีที่แล้ว
...
ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่าศิลปะเชิงพรรณนาชิ้นแรกเกิดขึ้นในยุโรป แต่อายุภาพวาดในถ้ำของอินโดนีเซียนั้นเก่าแก่กว่าสิ่งที่พบในที่อื่นๆ มาก แม่กระทั่งในยุโรป ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าศิลปะเชิงพรรณนาถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในแอฟริกา ก่อน 50,000 ปีที่แล้ว แนวคิดนี้ก็แพร่หลายไปพร้อมกับการกระจายตัวของสายพันธุ์มนุษย์เรา เชื่อว่าจะมีหลักฐานสนับสนุนเรื่องนี้อีกมากจากพื้นที่อื่นๆ รวมถึงแอฟริกา ทว่าหลักฐานดังกล่าวยังไม่ปรากฏออกมา.
อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่