การเลี้ยงตัวอ่อนหนอนไหมเพื่อผลิตเส้นใยไหมเพื่อสร้างสิ่งทอที่ผู้คนได้ใช้ประโยชน์ เช่น เครื่องนุ่งห่ม เป็นเรื่องที่ผู้คนรู้กันมานาน แต่การนำสายพันธุ์หนอนจากภูมิภาคหนึ่งไปใช้ผลิตในต่างดินแดนที่มีความแตกต่างในแง่ของสภาพภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อม และสภาพอากาศ นับเป็นเรื่องที่ท้าทาย เมื่อเร็วๆนี้มีนักชีวเคมีชาวคิวบาทำโครงการ ArteSeda ที่ Indio Hatuey Experimental Station ตั้งอยู่ทางตะวันตกของคิวบา เผยถึงความสำเร็จในการเลี้ยงหนอนไหมเอเชียในคิวบา

ทีมนักเคมีเผยให้เห็นหนอนไหมสีครีมผีเสื้อกลางคืน (Bombyx mori) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียหลายร้อยตัว เลื้อยไปมาบนใบหม่อนสีเขียวเข้มที่วางอยู่บนโต๊ะกว้าง ซึ่งใบหม่อนเป็นอาหารโปรดของหนอน เก็บมาสดๆจากต้นหม่อนที่ปลูกอยู่ด้านนอกห้องทดลอง ทีมอธิบายว่ากระบวนการผลิตนี้ใช้แบบปฏิบัติดั้งเดิมของจีนที่สืบทอดมายาวนาน กว่า 5,000 ปี แต่การเลี้ยงหนอนเอเชียในคิวบายังต้องมีเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงมาก แต่ทีมระบุว่าคิวบามีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการเลี้ยงหนอนไหมเอเชีย ทั้งอุณหภูมิความชื้น มีลมตะวันออกที่พัดสบาย มีฤดูเพาะปลูกตลอดทั้งปี ทำให้เป็นแหล่งความสุขและมีอาหารเพียงพอสำหรับหนอนไหม

...

โครงการนี้เริ่มต้นด้วยเงินทุนจากสหภาพยุโรป รัฐบาลคิวบา และล่าสุดจากรัฐบาลฝรั่งเศส มีเป้าหมาย ที่จะสอนช่างฝีมือเกี่ยวกับกระบวนการเลี้ยงไหม เพื่อให้ช่างฝีมือใช้เส้นใยไหมสร้างผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเองที่บ้านเพื่อขายให้กับนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่นอย่างผ้าไหม เครื่องสำอาง งานฝีมือ สบู่ และภาพพิมพ์.

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่