ยูโรปา (Europa) เป็นหนึ่งในดวงจันทร์บริวารที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาดวงจันทร์มากกว่า 90 ดวงที่โคจรรอบดาวพฤหัสบดี นักดาราศาสตร์เชื่อว่าเป็นหนึ่งในสถานที่อันเหมาะเหม็งที่สุดในการค้นหาสิ่งมีชีวิตในต่างดาว ดวงจันทร์ยูโรปามักถูกเรียก “โลกมหาสมุทร” ซึ่งการสำรวจจนถึงปัจจุบัน ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าใต้เปลือกน้ำแข็งของยูโรปา อาจมีมหาสมุทรน้ำเค็มที่เป็นของเหลว และมีน้ำมากกว่ามหาสมุทรโลกถึง 2 เท่า

ล่าสุด ยานอวกาศยูโรปา คลิปเปอร์ (Europa Clipper) ขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา ที่เตรียมจะส่งไปโคจรอยู่รอบดาวพฤหัสฯ อาจมีเครื่องมือในการตรวจจับสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ยูโรปาได้ นักดาราศาสตร์ระบุว่าขณะที่ยานอวกาศยูโรปา คลิปเปอร์ ผ่านการทดสอบและเตรียมการขั้นสุดท้ายก่อนการปล่อยออกเดินทางในเดือน ต.ค.2567 นี้ นักดาราศาสตร์ได้ใช้ 1 ใน 9 เครื่องมือบนยานดังกล่าว ชื่อเครื่อง The Suda (Surface Dust Mass Analyser) ที่จะพิจารณาว่าดวงจันทร์ยูโรปาดูแลรักษาสิ่งมีชีวิตได้หรือไม่ เครื่องมือนี้ควรจะสามารถตรวจจับสิ่งมีชีวิตในต่างดาวได้โดยตรง ถ้ามันอยู่ที่นั่นจริง

ทั้งนี้ ส่วนประกอบสำคัญ 3 ประการสำหรับสิ่งมีชีวิตก็คือพลังงาน น้ำที่เป็นของเหลว และสารเคมีที่เหมาะสม ซึ่งยูโรปาได้รับพลังงานจากผลกระทบที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงอันสุดขั้ว โดยเกิดจากแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดี ทำให้ผลักและดึงวัตถุบนดวงจันทร์ จนเกิดความร้อนภายในดวงจันทร์ กระบวนการนี้เองที่สนับสนุนทฤษฎีของมหาสมุทรที่เป็นของเหลวใต้พื้นผิวบนยูโรปา.

(Credit : NASA)

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่