ไก่เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากที่สุดชนิดหนึ่ง ทว่าต้นกำเนิดและการแพร่กระจายของไก่ทั่วโลกยุคโบราณยังคงไม่กระจ่างแจ้ง แต่วิธีการสืบค้นทางโบราณคดีแบบใหม่ๆ ได้นำไปสู่การไขอดีตถึงการเลี้ยงได้ในครั้งโบราณ เมื่อเร็วๆนี้ทีมนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ชีวโมเลกุลระดับนานาชาติ นำโดยนักวิจัยจากสถาบันมานุษยวิทยามักซ์พลังค์ ในเยอรมนี ได้นำเสนอหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่เพื่อผลิตไข่อย่างแพร่หลายในเอเชียกลาง

ทีมได้ใช้เศษเปลือกไข่ที่รวบรวมจากแหล่งโบราณคดี 12 แห่ง ตามเส้นทางสายไหมในเอเชียกลาง ที่มีอายุประมาณ 1,500 ปี และใช้วิธีการวิเคราะห์ทางชีวโมเลกุลที่เรียกว่า ZooMS (Zooarchaeology by Mass Spectrometry) เพื่อระบุแหล่งที่มาของไข่ว่าเป็นของสัตว์ปีกชนิดใด ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า ไก่ถูกเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในเอเชียกลางตั้งแต่ประมาณ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และน่าจะกระจัดกระจายไปตามเส้นทางสายไหมโบราณ นักวิจัยยังเผยอีกว่า เปลือกไข่ที่สมบูรณ์บ่งชี้ว่าสัตว์ปีกพวกนี้มีการวางไข่นอกฤดูกาล และเป็นลักษณะการวางไข่ที่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้การเลี้ยงไก่ตามบ้านน่าดึงดูดใจสำหรับคนโบราณ

นอกจากนี้นักวิจัยยังได้ข้อสรุปที่สำคัญว่าสัตว์ปีกเหล่านี้จะต้องวางไข่บ่อยกว่าบรรพบุรุษที่อยู่ตามธรรมชาติของพวกมันนั่นก็คือ ไก่ป่า ที่จะทำรังปีละครั้งและโดยทั่วไปจะวางไข่ครั้งละ 6 ฟอง.

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่