ต้นโกโก้ (Theobroma cacao) มีฝักรูปทรงรีขนาดใหญ่ ภายในจะมีเมล็ดโกโก้ลักษณะ คล้ายเมล็ดถั่ว ซึ่งจะถูกนำมาหมัก ตากแห้ง จนถึงนำไปคั่วด้วยความร้อนจนเปลือกหลุดออก จนเหลือเพียงก้อนสีน้ำตาล เมื่อนำก้อนสีน้ำตาลไปบดจนเหลวหนืด ก็จะถูกนำไปผ่านกระบวนการแยกไขมัน โดยส่วนที่เหลือหลังแยกไขมันออกไปก็จะได้ก้อนโกโก้ นำไปบดเป็นผงโกโก้ ซึ่งสมัยโบราณ โกโก้ถูกใช้เป็น เครื่องดื่มหรือเป็นส่วนผสมร่วมกับอาหารอื่นๆ

ทว่าต้นกำเนิดของโกโก้ก็ยังเป็นปริศนา แต่การค้นพบสารตกค้างของโกโก้ในภาชนะดินเผาโบราณมากกว่า 300 ชิ้นจากอเมริกาใต้และอเมริกากลาง ที่มาจากช่วงระยะเวลา 6,000 ปี ในยุคก่อน ชาวยุโรปจะเข้ามา ได้เปิดประตูสู่การสืบหาการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของต้นโกโก้ผ่านเส้นทางการค้าในยุคโบราณ ทีมวิจัยนำโดยนักพันธุศาสตร์จากศูนย์วิจัยการเกษตรของฝรั่งเศสเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ระบุว่าร่องรอยของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ของโกโก้และสารประกอบทางเคมี 3 ชนิดที่เกี่ยวข้องรวมถึงคาเฟอีน ทีมได้พบหลักฐานเกี่ยวกับโกโก้ คิดเป็นประมาณ 30% และชี้ว่าผลิตภัณฑ์โกโก้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในวัฒนธรรมโบราณในอเมริกาใต้และอเมริกากลางมากกว่าที่เคยรู้กัน อย่างวัฒนธรรมบัลดิเบีย (Valdivia culture) ในเอกวาดอร์ และวัฒนธรรมปวยโต ฮอร์มิกา (Puerto Hormiga culture) ในโคลอมเบีย

...

ทีมวิจัยเผยว่า ดีเอ็นเอ โบราณที่พบในภาชนะดินเผาบ่งบอกว่าวัฒนธรรม ต่างๆได้ผสมข้ามพันธุ์ต้นโกโก้เพื่อปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ อย่าง แรกคือการปลูกต้นโกโก้ในครัวเรือน ซึ่งนับเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนมากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยตั้งสมมติฐานไว้ก่อนหน้านี้.

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่