ในขณะที่โลกเผชิญกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น การหาวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จึงเป็นสิ่งสำคัญ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีนักวิทยาศาสตร์สนใจบทบาทของสาหร่าย ซึ่งเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตสังเคราะห์แสงที่หลากหลาย สามารถดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศมาแปลงเป็นสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต กระบวนการนี้ไม่เพียงช่วยลดระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ยังผลิตชีวมวลที่มีคุณค่าซึ่งนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ อาหารสัตว์ และแม้แต่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟต์ ในเนเธอร์แลนด์ เผยว่า วัสดุที่เป็นส่วนผสมจากธรรมชาติ หรืออีแอลเอ็ม (Engineered living materials- ELM) ที่ประกอบด้วยเครือข่ายเซลล์สาหร่าย เป็นทางออกที่ดีในการดักจับคาร์บอน มีศักยภาพในการปฏิวัติสังคม เหมาะต่อการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น โรงบำบัดน้ำเสีย การปล่อยก๊าซไอเสียของโรงไฟฟ้า หรือแม้แต่ในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ พื้นที่ผิวหนาของวัสดุที่เป็นส่วนผสมจากธรรมชาติเหล่านี้ดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่เซลล์สาหร่ายจะเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกจับไปเป็นชีวมวล หรือสารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงานได้
การเพิ่มประสิทธิภาพในการดักจับคาร์บอนโดยสาหร่ายให้ดีขึ้น ยังจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยหลายประการ ทั้งการเลือกสายพันธุ์สาหร่าย สภาพแวดล้อม การออกแบบระบบ และการใช้ชีวมวล สิ่งนี้จะทำให้ควบคุมการดักจับคาร์บอนจากสาหร่ายได้อย่างเต็มที่ และมีส่วนสนับสนุนอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น.
...
Credit : Delft University of Technology
อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่