ผู้นำปาปัวนิวกินีประกาศภาวะฉุกเฉินในเมืองหลวง หลังเกิดการจลาจลครั้งใหญ่ ตามหลังการประท้วงหยุดงานของตำแหน่ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 15 ศพ

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายกรัฐมนตรี เจมส์ มาราปี แห่งประเทศปาปัวนิวกินี ประกาศภาวะฉุกเฉินในเมืองหลวงกรุงพอร์ตมอร์สบีนาน 14 วัน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 ม.ค. 2566 หรือ 1 วันหลังจากเกิดการจลาจลครั้งใหญ่ เนื่องจากตำรวจและข้าราชการอื่นๆ ประท้วงหยุดงานหลังพบว่า ค่าแรงของพวกเขาหายไปถึง 50% และไปชุมนุมกันที่หน้ารัฐสภา

แต่มาในวันเดียวกัน นายมาราปีออกมายืนยันว่า เงินที่หายไปเป็นความผิดพลาดทางคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่การลดค่าแรง และสัญญาณว่าจะแก่ไขความผิดพลาดนี้ให้ถูกต้องในการจ่ายค่าแรกครั้งถัดไป อย่างไรก็ตาม ผู้ชุมนุมหลายคนยังคงรับไม่ได้ และพยายามบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภา รถยนต์คันหนึ่งที่หน้าสำนักงานนายกรัฐมนตรีถูกจุดไฟเผา

การหยุดงานของตำรวจยังทำให้ประชาชนตามชานกรุงก่อเหตุปล้นร้านค้า และสร้างความเสียหายไปทั่ว รถยนต์บางคันถูกจุดไฟเผา ร้านค้าบางแห่งถูกเผาทำลาย โดยมีรายงานพบผู้เสียชีวิตด้วย 8 ศพในกรุงพอร์ตมอร์สบี ลีก 7 ศพ ที่เมืองเล เมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ

ถึงแม้ว่าความรุนแรงส่วนใหญ่จะเริ่มสงบลงในช่วงเย็นวันพุธ หลังทหารถูกส่งไปควบคุมสถานการณ์ และตำรวจเริ่มกลับมาปฏิบัติหน้าที่อีกครั้ง แต่นายกรัฐมนตรียอมรับว่า สถานการณ์ยังคงตึงเครียด พร้อมย้ำด้วยว่า “การละเมิดกฎหมายไม่สามารถทำให้บรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการได้”

ทั้งนี้ เหตุความไม่สงบที่เกิดขึ้น ตอกย้ำความตึงเครียดในปาปัวนิวกินี ที่กำลังประสบปัญหาค่าครองชีพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอัตราการว่างง่ายสูง

ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตหลายคนอ้างบนโลกออนไลน์ด้วยว่า รัฐบาลเตรียมเพิ่มการเก็บภาษีเงินได้ ซึ่งนายมาราปียืนกรานปฏิเสธ

...

ขณะที่นาย โพเวส พาร์คอปผู้ว่าการเขตเมืองหลวงแห่งชาติ กล่าวว่า “เราได้เห็นความขัดแย้งในเมืองของเราในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นบางสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของเมืองและของประเทศเรา” เขาประณามผู้ก่อเหตุปล้นชิงร้านค้าด้วยว่า เป็นพวกฉวยโอกาส

ติดตามข่าวต่างประเทศ : https://www.thairath.co.th/news/foreign

ที่มา : bbc