จากที่กล่าวในตอนที่แล้วว่าเราทุกคนควรต้องค้นคว้าก่อนว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” คืออะไร และส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต และสังคม ฯลฯ อย่างไรบ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีอยู่มากมายที่หาอ่านและนำมาขบคิดเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนมุมคิดและพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างไร

ใน “Climate Talk” ซึ่งโต้โผใหญ่จัดงานก็คือ สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย ที่นอกจากจะเปิดเวทีให้หลายภาคส่วน หลายสาขาอาชีพมาร่วมพูดคุยถึงสิ่งที่โลกของเราเผชิญอยู่ โดยเฉพาะในประเทศไทยแล้ว ยังจัดพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมงานได้เวิร์กช็อป เพื่อต่อยอดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องพลังงานสีเขียว พลังงานสะอาด ด้วยการแบ่งเวิร์กช็อปเป็น 3 กลุ่มให้ผู้สนใจเลือกเข้าฟังบรรยายและ ทำแบบทดสอบประเมินข้อมูลที่แต่ละคนรับรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น และประเมินถึงความต้องการ การเล็งเห็นประโยชน์ของผู้คนที่หากว่าวันหนึ่งเราต้องปรับตัวเปลี่ยนไปใช้นวัตกรรมทางเลือกใหม่ๆ ที่ออกมาเพื่อตอบโจทย์ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ด้วยนำผู้ร่วมงานเข้าสู่โลกพลังงาน ไฮโดรเจน เรียนรู้การทำงานของไฮโดรเจน ทำให้รู้ว่ามันเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดมาใช้ผลิตไฟฟ้า โดยเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนการตั้งเป้าลดปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐบาลชุดที่แล้วได้ประกาศในการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทยเมื่อปีก่อนว่ารัฐบาลตั้งเป้าลดปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในปี 2593 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ.2608

นอกจากนี้ยังมีเวิร์กช็อปจากกลุ่มรถพลังงานไฟฟ้า (EV) ที่ให้ข้อมูลว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด มี 25% มาจากภาคการขนส่ง แม้การบริโภคน้ำมันและผลิตภัณฑ์จากน้ำมันในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาตัวเลขอาจน้อย แต่ปริมาณการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 2 เท่า และมีแนวโน้มเป็นอยู่ต่อไป เพราะการขนส่งทั้งขนส่งสินค้าและการโดยสารเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่ผลักดันการลดการปล่อยคาร์บอน

...

ก็เดาไม่ยากว่ายานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจะเป็นตัวทำเกมที่สำคัญในอนาคต.

ภัค เศารยะ

คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้าต่างโลก” เพิ่มเติม