โลกเราเผชิญกับสถานการณ์เรื่องน้ำที่แตกต่างกัน บางพื้นที่ก็น้ำเยอะเกินจำเป็น แต่บางแห่งกลับขาดแคลน อย่างไรก็ตาม การขาดแคลนน้ำก็ยังมีสัญญาณความหวัง เมื่อมีนักวิจัยพยายามหาวิธีให้ได้มาซึ่งน้ำดื่มใช้ แม้จะอยู่ในพื้นที่อัน ร้อนแล้ง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส เมืองออสติน สหรัฐอเมริกา ได้มุ่งเน้นไปที่ความชื้นที่มีอยู่ในอากาศ ในฐานะเป็นแหล่งน้ำดื่มที่มีศักยภาพของประชากรที่ประสบภัยแล้ง
ล่าสุดทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส เผยงานวิจัยใหม่ลงในวารสาร National Academy of Sciences ว่า บรรลุความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการสร้างน้ำดื่มจากอากาศเบาบาง โดยออกแบบไฮโดรเจลที่ดึงน้ำออกจากชั้น บรรยากาศโดยใช้แค่พลังงานแสงอาทิตย์ในอุณหภูมิต่ำสุด 104 องศา ก็ทำให้ได้น้ำดื่ม จัดว่าสอดคล้องกับสภาพอากาศฤดูร้อนในเท็กซัสและส่วนอื่นๆของโลก อุปกรณ์นี้จะผลิตน้ำให้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความพยายามเพิ่มเติม
อุปกรณ์นี้ผลิตน้ำได้ระหว่าง 3.5-7 กิโลกรัมต่อกิโลกรัมของวัสดุเจล โดยขึ้นอยู่กับสภาพความชื้น ซึ่งการเปลี่ยนไฮโดรเจลให้เป็นอนุภาคขนาดเล็ก จะสามารถจับน้ำและปล่อยออกมาได้เร็วมาก ในอนาคตเราอาจมีอุปกรณ์ที่ทำให้ได้มาในรูปแบบน้ำดื่มสะอาด มีต้นทุนต่ำและพกพาได้ ซึ่งอาจ เป็นการเปลี่ยนแปลงชีวิตคนในประเทศต่างๆ เช่น เอธิโอเปีย ที่ประชากรเกือบ 60% ไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาดขั้นพื้นฐานได้.
Credit : University of Texas at Austin