ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป RCEP เป็นความตกลงซึ่งรวมกลุ่มสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน 10 ประเทศ ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ นับเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็น 30% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั่วโลก ในเชิงประชากรก็คิดเป็น 1 ใน 3 ของประชากรโลก

การเสนอไอเดียของอาร์เซ็ปเริ่มมาตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งบัดนี้ อาร์เซ็ปมีผลบังคับใช้ครบ 15 ประเทศสมาชิก อย่างเป็นทางการเมื่อ 2 มิ.ย. มีฟิลิปปินส์ประกาศบังคับใช้เป็นชาติลำดับสุดท้าย ในกลุ่มสมาชิก

สะท้อนถึงการสนับสนุนร่วมกันในเรื่องการค้าเสรี และแรงผลักดันในเรื่องความร่วมมือระดับ ภูมิภาค จากการประเมินของนักวิเคราะห์เปิดเผยกับสื่อหลักของจีน ไชน่า มีเดีย กรุ๊ป (CMG) เชื่อว่า อาร์เซ็ปจะเพิ่มรายได้แก่เศรษฐกิจโลก 209,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 7.31 ล้านล้านบาท และกลายเป็น 500,000 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 17.5 ล้านล้านบาท ภายในปี 2573

ฟิลิปปินส์ประเทศสมาชิกลำดับสุดท้ายที่เริ่มบังคับใช้ข้อตกลงอาร์เซ็ปและข้อกำหนดภาษีภายใต้อาร์เซ็ป เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งสถาบันเพื่อการพัฒนาแห่งฟิลิปปินส์ประเมินว่า มูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศฟิลิปปินส์จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2% จากการเข้าร่วม ข้อตกลง

เช่นเดียวกับจีนที่มีความยินดีปรีดา หลังข้อตกลงมีผลบังคับใช้ครบ 15 ประเทศสมาชิก โดยระบุด้วยว่า การค้าของจีนกับอาร์เซ็ป 14 ประเทศ ขยายตัวถึง 7.3% ภายในไตรมาสแรกของปี 2566 และคิดเป็นสัดส่วนถึง 31.2% ของการค้าทั้งหมดของจีนในช่วงเวลาดังกล่าว โดยศูนย์จีนและโลกาภิวัตน์ กลุ่มคลังสมองในกรุงปักกิ่งมองว่า ข้อตกลงอาร์เซ็ปจะทำให้ธุรกิจต่างๆได้รับโอกาสในการเข้าถึงตลาดที่กว้างขึ้น เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อผู้บริโภคในเอเชียที่มองการค้าสินค้าทางเลือก และเชื่อว่าในอนาคตจะทำให้เอเชียเป็นศูนย์กลาง ของแรงดึงดูดสำหรับการค้าโลก

...

มองดูแล้ว...การเมืองโลกย่อมควบคู่ไป กับเศรษฐกิจโลกอย่างหนีไม่พ้น...ในขณะที่ขั้วตะวันตกกำลังสะสม-กระชับความร่วมมือทาง ความมั่นคงอย่างเข้มข้น ขั้วตะวันออกก็กำลังแพ็กกลุ่มความร่วมมือทางการค้าที่ไม่ย่อหย่อนไปกว่ากัน.

ตุ๊ ปากเกร็ด