นิวยอร์กไทม์ส เผยมีเอกสารลับหลุด เปิดโปงรายละเอียดแผนสงครามของสหรัฐฯ นาโต เตรียมช่วยยูเครนบุกโต้กลับรัสเซียในช่วงฤดูใบไม้ผลิ

เมื่อ 8 เมษายน 2566 สงครามรัสเซีย-ยูเครน ดำเนินมาถึงวันที่ 409  'นิวยอร์กไทม์ส' สื่อทรงอิทธิพลในสหรัฐฯ รายงานว่า มีเอกสารลับที่มีความละเอียดอ่อนสูงหลุดออกมาสู่ภายนอก และถูกนำมาเผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย โดยเอกสารสำคัญดังกล่าวอ้างว่า เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับแผนสงครามที่สหรัฐฯ และองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) จะให้ความช่วยเหลือแก่ยูเครน ในการเตรียมตัวบุกโต้กลับกองกำลังรัสเซียในช่วงฤดูใบไม้ผลิปีนี้

เอกสารลับเหล่านี้ถูกเผยแพร่ทั้งในทวิตเตอร์และอินสตาแกรม อธิบายในรูปแผนภูมิและชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ที่สหรัฐฯ และนาโตเตรียมจะส่งไปช่วยเหลือกองทัพยูเครน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการรุกตอบโต้กลับฝ่ายรัสเซีย รวมทั้งยังมีข้อมูลละเอียดอ่อนอื่นๆ เกี่ยวกับแผนสงครามอีกด้วย

สงครามรัสเซีย-ยูเครน ดำเนินมาถึงวันที่ 409  นิวยอร์กไทม์สรายงานมีเอกสารลับหลุด เปิดเผยแผนสงครามของสหรัฐฯและนาโต ช่วยยูเครนโต้กลับรัสเซีย
สงครามรัสเซีย-ยูเครน ดำเนินมาถึงวันที่ 409 นิวยอร์กไทม์สรายงานมีเอกสารลับหลุด เปิดเผยแผนสงครามของสหรัฐฯและนาโต ช่วยยูเครนโต้กลับรัสเซีย

...

นิวยอร์กไทม์ส เผยว่า มีเอกสารลับชิ้นหนึ่งได้สรุปเกี่ยวกับตารางเวลาการฝึกทหาร 12 กองพันของยูเครนในการสู้รบ โดยในจำนวนนี้ทหารยูเครน 9 กองพัน ได้รับการฝึกรบโดยกองกำลังสหรัฐฯ และนาโต อีกทั้งยังมีการระบุว่า มีรถถังประมาณ 250 คัน และยานพาหนะทางทหารกว่า 350 คัน ถูกขอให้นำมาใช้ในการฝึกซ้อมรบให้กับกำลังทหารยูเครน

อย่างไรก็ตาม นิวยอร์กไทม์สไม่ได้เปิดเผยว่า นิวยอร์กไทม์สได้เอกสารลับนี้มาได้อย่างไร เพียงแต่แจ้งว่า เอกสารลับเหล่านี้ได้ทำขึ้นเมื่ออย่างน้อย 5 สัปดาห์ที่แล้ว หรือประมาณ 1 มีนาคม 2566 นอกจากนั้น เนื้อหาในเอกสารที่มีความละเอียดอ่อนนี้ ยังไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับแผนสงคราม อย่างเช่น กำหนดวันเวลาแน่ชัดที่ยูเครนจะรุกตอบโต้กองกำลังรัสเซีย

หลังนิวยอร์กไทม์สเปิดเผยเรื่องนี้ ทำให้ต่อมา นายมิไฮโล โปโดเลียก โฆษกประจำทำเนียบประธานาธิบดียูเครน บอกกับรอยเตอร์ เกี่ยวกับเอกสารลับนี้ว่า ดูเหมือนเป็นการดำเนินการบิดเบือนข้อมูลของฝ่ายรัสเซีย เพื่อจะสร้างความสงสัยเกี่ยวกับแผนตอบโต้ของกองทัพยูเครนในสงคราม ส่วนกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ แถลงว่า กำลังประเมินเกี่ยวกับความปลอดภัยในการหลุดของข้อมูลด้านความมั่นคง.

ที่มา : Aljazeera