นักวิทยาศาสตร์จากภาควิชานิเวศวิทยา พฤติกรรม และวิวัฒนาการแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ใน สหรัฐอเมริกา ระบุว่าสัตว์สามารถส่งข้อมูลที่สำคัญต่อการอยู่รอดได้เช่นเดียวกับมนุษย์ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้มีการวิจัยใหม่ของทีมนักวิทยาศาสตร์หลายสถาบัน อาทิ สภาวิทยา ศาสตร์จีน มหาวิทยาลัยควีนแมรีแห่งลอนดอน ในอังกฤษ เผยการเรียนรู้ทางสังคมนั้น ในแมลง ก็มีเหมือนกัน โดยเฉพาะ “ผึ้ง”

นักวิทยาศาสตร์รู้ว่าผึ้งมีการเต้นส่ายท้องหรือก้น โดยจะบินวนเป็นรูปเลข 8 ในขณะที่โยกตัวไปมา แต่ละการเคลื่อนไหวในการเต้นของผึ้ง จะแปลเป็นข้อมูลด้านอาหาร ทิศทาง ระยะทาง ประเภท คุณภาพของอาหาร เพื่อสื่อให้ผึ้งตัวอื่นรู้ถึงแหล่งเกสรดอกไม้ น้ำหวาน แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าการเต้นส่ายท้องเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติของผึ้ง หรือเป็นพฤติกรรมที่ผึ้งเรียนรู้มา ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงได้ออกแบบการทดลอง 5 กลุ่มกับผึ้งอายุเพียง 1 วัน ทีมงานพบว่าผึ้งเริ่มเต้นช่วง 1 หรือ 2 สัปดาห์หลังจากฟักตัว โดยตั้งข้อสังเกตว่าผึ้งเหล่านี้เต้นไม่เป็นระเบียบ มีข้อผิดพลาดในทิศทางและระยะทางอย่างมาก แต่ก็พบว่าผึ้งมีความแม่นยำในทิศทางดีขึ้นเมื่อมีประสบการณ์ ขณะที่ผึ้งอีกสายพันธุ์บัมเบิลบี กลับเรียนรู้ที่จะไขปริศนาด้วยการเฝ้าดูเพื่อนๆ ของพวกมันเต้น

...

ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยาประสาทสัมผัสและพฤติกรรมจากมหาวิทยาลัยควีนแมรี ให้ความเห็นถึงการศึกษาผึ้งว่า การเต้นส่ายไปมาถือเป็นนวัต กรรมที่น่าทึ่งที่สุดอย่างหนึ่งของการสื่อสารในสัตว์ และชี้ว่าการเต้นส่ายท้องถือเป็นรูปแบบการสื่อสารที่ซับซ้อนภายในผึ้ง ซึ่งหล่อหลอมมาจากการเรียนรู้ทางสังคมนั่นเอง.