ด.ช.ชวู ตงหยู เกิด ค.ศ.1963 ที่เมืองหยงโจว มณฑลหูหนาน นายชวูจบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเกษตรแห่งมณฑลหูหนาน ปริญญาโทชีวโมเลกุลในการปรับปรุงพันธุ์พืช จากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งชาติ และปริญญาเอกวิทยาศาสตร์การเกษตรสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยวาเกนนิงเก้น เนเธอร์แลนด์ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงด้านการเกษตรอันดับ 1 ของโลก สมัยที่ผมเรียนปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอูเทร็คท์ เนเธอร์ แลนด์ ก็เคยไปทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยวาเกนนิงเก้นอยู่เป็นประจำ

สหประชาชาติมีองค์การระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือในระดับโลกทางเศรษฐกิจ การเงิน และการค้า 5 องค์กร คือ 1.ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา (ธนาคารโลก) 2.กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 3.องค์การการค้าโลก (WTO) 4.กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรม (IFAD) และ 5.องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)

FAO ตั้งตามมติของสหประชาชาติ ค.ศ.1945 มีบทบาทนำด้านอาหาร เกษตร ป่าไม้ และประมง มีสมาชิก 190 ประเทศ สำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี ผู้บริหารใหญ่สุดของ FAO คือ ผู้อำนวยการใหญ่ซึ่งได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ อยู่วาระละ 6 ปี ผู้อำนวยการใหญ่ที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งคือ นายชวู ตงหยู อดีตรองรัฐมนตรีเกษตรของจีน

17-21 ตุลาคม 2022 มีการประชุม WFF หรือ World Food Forum ที่กรุงโรม และมีการอนุมัติโครงการพัฒนาส่งเสริมการผลิตผลผลิตด้านกสิกรรมตามพื้นที่สองข้างของเส้นทางรถไฟลาว-จีน เพื่อส่งผลผลิตไปจีน ทราบว่ารัฐบาลจีนทุ่มสุดตัวในการช่วยเหลือให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ

15-16 ธันวาคม 2022 สาขาการจัดการและพัฒนาทรัพยากร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชิญผู้เชี่ยวชาญไปบรรยายในหัวข้อการจัดการและพัฒนาทรัพยากรไทยลาว 4 ท่านคือ ฯพณฯ คำพัน อั่นลาวัน เอกอัครราชทูตลาวประจำไทย (มหาบัณฑิตจากกรุงมอสโก) นายศรีประไพ ไซสงคราม ปลัดกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ (อดีตนิสิตเตรียมภาษาจากไซบีเรียและนิสิตด้านป่าไม้จากกรุงมินสก์) นายวงค์คำแหง วงค์กะจักร อธิบดีกรมการเงินต่างประเทศ กระทรวงการเงิน และ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย (ดุษฎีบัณฑิตจากกรุงมอสโก)

...

ค.ศ.2023 หรือตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป จีนจะเข้มงวดด้านการนำเข้าผลผลิตทางการเกษตร อาหารและผลิตภัณฑ์ทุกประเภท ประเทศที่ต้องการผลิตเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายในจีนจึงต้องปรับปรุงวิธีการผลิต เพื่อไม่ให้มีการตกค้างของสารอันตราย สารพิษ และสารก่อภูมิแพ้ในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่จะส่งเข้าไปจำหน่ายในจีน

ผู้รับฟังการบรรยายที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในครั้งนี้ มีทั้งคณบดี อาจารย์ และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (คณะเกษตรศาสตร์+คณะสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ (คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรป่าไม้+คณะเศรษฐศาสตร์และการท่องเที่ยว) มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต มหาวิทยาลัยจำปาศักดิ์ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (คณะผลิตกรรมการเกษตร)

ไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งซึ่งส่งผลผลิตทางการเกษตรไปจำหน่ายในจีน โดยเฉพาะทุเรียน ลำไย มะม่วง ข้าว ฯลฯ ปีหนึ่งรวมมูลค่าหลายแสนล้านบาท ก่อนวิกฤติโควิด-19 รัฐบาลจีนยังไม่เข้มงวดกวดขันมาก แต่หลังจากวิกฤติโควิด-19 รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทางอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตกค้างของสารกำจัดแมลงและศัตรูพืช

หน่วยงานของ สปป.ลาวมีการเตรียมพร้อมทางด้านการผลิต อาจารย์นิติภูมิธณัฐมีโอกาสได้ประชุม+ทานอาหาร กับปลัดกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ของลาวนานถึง 3 วัน จึงมีโอกาสได้รับทราบข้อมูลการเตรียมการของลาวอย่างละเอียด

สำหรับประเทศไทย เราโชคดีที่มีนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ผู้เคยเป็นอัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการเกษตร + อัครราชทูตฝ่ายการเกษตร ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (2005-2009) และอัครราชทูตฝ่ายการเกษตร ประจำกรุงโรม+ผู้แทนถาวรไทยประจำ FAO (2012-2014) และเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2020)

ผมเชื่อมั่นความรู้ความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ทั้งทางฝั่งไทย-ลาว ถ้าผนึกกำลังกันอย่างเข้มแข็ง เราก็จะสามารถสร้างแผ่นดินไทยและลาวให้เป็นครัวโลกที่มีมาตรฐานได้.

นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย
songlok1997@gmail.com