ประเภทของการออกกำลังกายที่มีผลต่อร่างกายและจิตใจ หนึ่งในความนิยมก็คือรำไท้เก๊ก ซึ่งประกอบด้วยการออกลีลาท่าทาง การทำสมาธิ และการหายใจที่เหมาะสม การเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันในแต่ละท่วงท่าของไท้เก๊ก ทำให้ผู้ฝึกฝนต้องรับรู้หลายอย่าง เช่น ความจำในการทำงานและการประมวลผลเชิงพื้นที่ทางสายตาเพื่อจดจำท่าทาง ส่วนการเคลื่อน ไหวก็จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในสมอง สำหรับผู้สูงอายุแล้วการรำไท้เก๊กได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นประโยชน์ต่อการมี อายุยืนยาว ช่วยเรื่องความจำและการเรียนรู้

ทั้งนี้ จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ได้ทำให้การใช้ชีวิตของผู้คนบนโลกเปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีหุ่นยนต์ถูกนำมาตอบสนองชีวิตของคนเรามากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ แม้แต่การออกกำลังกายก็เช่นกัน ล่าสุด ทีมวิจัยนำโดย จื้อ เจิ้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ในวิทยาลัยวิศวกรรม ศาสตร์เคท เกลียสัน แห่งสถาบันเทคโนโลยีโรเชสเตอร์ รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เผยว่า ได้พัฒนาระบบหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ที่เลียนแบบมนุษย์ชื่อ นาโอะ (NAO) สูงเพียง 0.61 ซม. มีความซับซ้อนสูงและสามารถตั้งโปรแกรมด้วยฟังก์ชันและการทำงานเฉพาะได้

ทีมวิจัยเผยว่า นาโอะสามารถสอนการรำไท้เก๊ก อันเป็นการให้บริการแก่ผู้คน และมองว่าหุ่นยนต์สามารถเข้ากับชุมชนได้ด้วยดี.

(ภาพประกอบ Credit : Rochester Institute of Technology)