“ซาจิทาเรียส เอ สตาร์” (Sagittarius A*) หรือเรียกอย่างย่นย่อว่า Sgr A* เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นหลุมดำมวลยิ่งยวด (Supermassive Black Hole– SMBH) อยู่ที่ใจกลางดาราจักรหรือกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา ซึ่งด้วยความที่หลุมดำแห่งนี้อยู่ไกลห่างมาก สภาพแวดล้อมของมันจึงลึกลับและยากต่อการเข้าใจ

ทว่าเมื่อเร็วๆนี้ นักดาราศาสตร์วิทยุของสถาบันมักซ์ พลังค์ ในเยอรมนี รายงานว่า จากการใช้เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมาที่มีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในทะเลทรายอาตากามา ของชิลี ก็ได้ค้นพบสัญญาณของอุณหภูมิร้อนหรือรังสีสูงที่มากเคลื่อนไปรอบๆซาจิทาเรียส เอ สตาร์ เปรียบเหมือนฟองก๊าซร้อนระอุเกาะอยู่รอบๆ หลุมดำยักษ์ การสังเกตการณ์ชี้ว่าฟองก๊าซอยู่บนวงโคจรที่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพุธ แต่ทำให้วงแหวนเกิดฟองขึ้นภายในเวลาประมาณ 70 นาที ซึ่งต้องใช้ความเร็วประมาณ 30% ของความเร็วแสง นักดาราศาสตร์เผยว่า การสังเกตการณ์บางส่วนเกิดขึ้นไม่นานหลังจากมีการระเบิดหรือมีแสงแฟลร์ของพลังงานรังสีเอ็กซ์ถูกปล่อยออกมาจากใจกลางกาแล็กซี ซึ่งการค้นพบฟองก๊าซร้อน ดูเหมือนจะสนับสนุนแนวคิดที่มีมาช้านานว่าแสงแฟลร์นั้นเกิดจากปฏิกิริยาทางแม่เหล็กในก๊าซร้อนจัด ที่โคจรใกล้กับหลุมดำซาจิทาเรียส เอ สตาร์

นักดาราศาสตร์แจกแจงว่า การสังเกตการณ์นี้เกิดขึ้นโดยใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา อันเป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป (อีเอสโอ) เป็นเจ้าของร่วม ขณะที่กล้องโทรทรรศน์อีเวนต์ฮอไรซัน (Event Horizon Telescope : EHT) มีส่วนร่วมในการสร้างภาพหลุมดำ.

Credit : EHT Collaboration, ESO/M. Kornmesser (Acknowledgment : M. Wielgus)