นักวิทย์เตือน มีโอกาส 1 ใน 6 ภูเขาไฟปะทุครั้งใหญ่ในศตวรรษนี้ เชื่อจะรุนแรงกว่าตอนภูเขาไฟใต้ทะเลที่ตองกาปะทุครั้งใหญ่เมื่อ ม.ค.65 ถึง 1-100 เท่า

เมื่อ 18 ส.ค. 65 เดลี่เมลรายงาน ทีมนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญด้านภูเขาไฟในเดนมาร์ก เชื่อว่ามีโอกาส 1 ใน 6 ที่จะเกิดภูเขาไฟปะทุครั้งใหญ่ภายในศตวรรษนี้ ซึ่งอานุภาพความรุนแรงของภูเขาไฟที่เกิดการปะทุครั้งใหญ่จะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศบนโลกและทำให้สิ่งมีชีวิตหลายล้านชีวิตตกอยู่ในอันตราย

ต้นปีนี้ เมื่อตอนภูเขาไฟใต้ทะเลขนาดยักษ์ ‘Hunga Tonga-Hunga Ha’apa’ (ฮังกา ตองกา-ฮังกา ฮายาไป) นอกชายฝั่งตองกา ปะทุรุนแรงในช่วงเย็นของวันนี้(15 ม.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น ส่งให้เกิดคลื่นยักษ์ Tsunami ซัดชายฝั่งของญี่ปุ่น ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ในขณะที่ตองกา ได้รับความเสียหายอย่างหนักทั้งชีวิตทรัพย์สิน และผลกระทบต่อ GDP เศรษฐกิจของประเทศถึง 1 ใน 5

...

ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบัน Niels Bohr ในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก วิเคราะห์แกนน้ำแข็งในกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติกาพบว่า การปะทุของภูเขาไฟรุนแรงขนาด 7 แมกนิจูด อาจทำให้เกิดความรุนแรงมากกว่าภูเขาไฟฮังกา ตองกา ฮังกา ฮายาไปปะทุเมื่อเดือนมกราคม 2565 ถึง 1-100 เท่า และมีความเป็นไปได้ ที่ภูเขาไฟจะเกิดการปะทุครั้งใหญ่ในศตวรรษนี้

ในอดีตที่ผ่านมา การปะทุของภูเขาไฟในระดับความรุนแรงขนาดนี้ เป็นสาเหตุทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน และเกิดการล่มสลายของอารยธรรม ทว่าในขณะนี้ โลกยังไม่มีการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับมหันตภัยภูเขาไฟปะทุครั้งใหญ่ในระดับนี้เลย

Michael Cassidy ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านภูเขาไฟวิทยาที่มหาวิทยาลับเบอร์มิงแฮม ในอังกฤษ กล่าวกับวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ Nature(เนเจอร์) ว่า ขณะนี้ยังไม่มีการประสานการทำงาน หรือการทุ่มงบก้อนใหญ่เพื่อศึกษาถึงผลกระทบต่อโลกหากเกิดภูเขาไฟปะทุครั้งใหญ่แต่อย่างใด