การนำเนื้อไปปิ้งย่างสไตล์บาร์บีคิวอาจเข้ากันได้ดีกับหน้าร้อนของชาวอเมริกันและชาว ยุโรป แต่ผู้บริโภคอาจต้องคิดทบทวนเสียใหม่แล้วว่า เมนูเหล่านี้ส่งผลอย่างไรต่อโลกใบนี้

โดย นายทิโมธี เซิร์จชิงเจอร์ หัวหน้ากลุ่มนักประพันธ์ของสถาบันแหล่งทรัพยากรธรรมชาติโลก (WRI) และคณะนักค้นคว้าประจำมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เมืองพรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซีย์ ในสหรัฐฯ เผยว่า หากผู้บริโภคที่กินเนื้อวัว เนื้อแกะมากที่สุดลดปริมาณการกินสัปดาห์ละ 1.5 ชิ้นภายในปี 2593 หรืออีก 28 ปีข้างหน้า จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและยังช่วยป่าไม้ไม่ให้กลายเป็นฟาร์มสัตว์ใหญ่

ปัจจุบันชาวอเมริกันกับชาวยุโรปกินเบอร์เกอร์เฉลี่ยสัปดาห์ละ 3 ชิ้น ส่วนชาวบราซิลกินถึงสามเท่า หรือ 9 ชิ้น แล้วนักบริโภคทั้งใน สหรัฐฯ แคนาดา ยุโรป ละตินอเมริกา อดีตสหภาพโซเวียต มีประชากร 1 ใน 4 ของโลก

เมื่อ 2554 มีการบริโภคเนื้อกว่าครึ่งของโลก ทั้งเนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ ซึ่งการทำฟาร์มเกษตรนั้นก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 11% ส่วนใหญ่มาจากการปล่อยแก๊สของปศุสัตว์ระหว่างการย่อยอาหารและปุ๋ยคอก

นอกจากนี้ การขยายพื้นที่เกษตรกรรมยังก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการไถผืนป่า การโค่นต้นไม้ ที่เป็นพระเอกคอยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเนื้อโปรตีนหลายตันที่ได้จากแกะ แพะ หรือวัว ก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าหมูไม่ต่ำกว่า 4 เท่า และมากกว่าไก่ 8 เท่า แล้วสัตว์เคี้ยวเอื้องเหล่านี้ยังต้องการพื้นที่เพื่อการดูแลและเติบโตมากกว่าอีกด้วย

ด้านนักวิทยาศาสตร์ก็กำลังหาวิธีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสัตว์สี่ขาผ่านมาตรการต่างๆ รวมถึงคัดเลือกสายพันธุ์ที่ผายลม หรือเรอน้อยลง แต่ก็เสริมด้วยการเลี้ยงอาหารคุณภาพสูง ซึ่งจะช่วยให้แต่ละตัวเพิ่มน้ำนมและเนื้อมากขึ้น

...

แต่ก็ยังมีข่าวน่าสนใจของฟาสต์ฟู้ดรายยักษ์ใหญ่อย่างเคเอฟซีในสหรัฐฯที่ลุยขายเมนูอาหารโปรตีนจากพืช หรือ Plant-based food ของ Beyond Meat ในทุกสาขาทั่วประเทศ และยังมีฟาสต์ฟู้ดเจ้าอื่นๆเดินตามรอยเดียวกันอีกด้วย...

ฤทัยรัช จันทร์เพ็ญ