สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ญี่ปุ่นถือว่าเคยเป็นประเทศบุกเบิกการโอน-จ่ายแบบไร้เงินสด ย้อนไปยุค 1990 บริษัท เดนโซะ เวฟ พัฒนาระบบคิวอาร์โค้ดเป็นครั้งแรก บริษัท โซนี่ เองก็เสนอชิปสำหรับจ่ายขึ้นรถสาธารณะและจ่ายสินค้าโซนี่ตั้งแต่ยุค 2000
ขณะที่การชำระค่าสินค้าผ่านทางออนไลน์ทั่วโลกกำลังไหลไปตามกระแสเพิ่มขึ้น แต่ประชากรญี่ปุ่นที่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย โดยกว่า 28% อายุ 65 ปีขึ้นนั้น ชื่นชอบการจ่ายเงินสดมากกว่า สังเกตได้จากสัดส่วนการซื้อสินค้า 4 ใน 5 รายยังคงควักเงินจ่าย
ทั้งที่เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงเรื่องนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยีเพื่ออนาคต ต่างจากเกาหลีใต้ที่ราว 90% ทำธุรกรรมการเงินผ่านระบบดิจิทัล ขณะที่สวีเดนตั้งเป้าไว้แล้วว่าจะเป็นสังคมไร้เงินสดอย่างเร็วสุดปี 2566 หรืออีกเพียง 4 ปีหน้า
แต่ปัญหาอาชญากรรมและเงินปลอมแทบไม่มีให้เห็นอยู่ในญี่ปุ่น ประชาชนที่นี่จึงรู้สึกพกเงินสดแล้วสบายใจกว่า ตย. นายคัตซูยูกิ ฮาเซกาวะ เจ้าของร้านซ่อมจักรยาน วัย 40 ปี เผยกับผู้สื่อข่าวว่า ทางร้านของตัวเองก็มีคิวอาร์โค้ดของเพย์พัล ซึ่งทำร่วมกันระหว่างธนาคารซอฟต์แบงก์กับยาฮู ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตสัญชาติอเมริกัน ให้ลูกค้าสแกนผ่านสมาร์ทโฟน แต่มีคนใช้บริการเพียง 2-3 คน เพราะชาวบ้านแถบที่เขาอาศัยอยู่ใช้ชีวิตแบบไม่เร่งร้อน ผู้สูงอายุชอบคุยกันระหว่างจ่ายเงิน และโดยส่วนตัวของฮาเซกาวะแล้ว ก็ชอบจ่ายเงินสด
ขณะที่รัฐบาลเตรียมวางแผนชักชวนให้คนหันมาจ่ายออนไลน์ ซึ่งอาจใช้ระบบสะสมแต้มให้รางวัลลูกค้าที่จ่ายออนไลน์ และหวังดึงดูดนักท่องเที่ยวที่เตรียมเข้าประเทศหลังปลดล็อก จะช่วยเพิ่มการใช้จ่ายทางออนไลน์สองเท่าเป็น 40% ภายในปี 2568
หลายบริษัทเอกชนก็หาวิธีโปรโมต เช่น ร้านอาหารสไตล์เก๋ๆ “โคกูมะ” ที่หมายถึง หมี ของอากิโกะ ยามานากะ ก็มีไอเดียลดค่าอาหาร 10% สำหรับลูกค้าที่จ่ายผ่านเพย์พัล รวมถึงราคูเท็น บริษัทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และอินเตอร์เน็ตชื่อดังของญี่ปุ่นก็เริ่ม “ไร้เงินสด 100%”
...
กับทีมฟุตบอลและเบสบอลของตัวเอง ซึ่งนายฮิโรชิ มิกิตานิ ประธานและซีอีโอของราคูเท็น ก็มั่นใจว่า ต่อไปอนาคตการพกธนบัตรกับเหรียญจะกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัย และอาจกลายเป็นของที่ระลึกด้านเงินตราไปโดยปริยาย...
ฤทัยรัช จันทร์เพ็ญ