บทความจากสถานทูตรัสเซียได้อธิบายต่อไปว่าอีกทางหนึ่งที่ประเทศรัสเซียได้ต่อสู้ คือ อาชญากรรมไซเบอร์ ซึ่งได้กลายมาเป็นปัญหาข้ามชาติที่มีความเกี่ยวข้องกับการป้องกันเทคโนโลยีสื่อสาร (ICT) ซึ่งเราได้พยายามทำให้ทุกรัฐมั่นใจ และสร้างความเข้าใจเพื่อการใช้งานได้อย่างปลอดภัยในเรื่องการป้องกันเทคโนโลยีสื่อสาร (ICT) ด้วยเหตุนี้รัสเซียจึงเริ่มร่างอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ครอบคลุมภายใต้กรอบของสหประชาชาติ

ในเดือน ธ.ค.2562 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญระหว่างรัฐบาลสำหรับภารกิจนี้โดยเฉพาะ เพื่อจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ โดยการริเริ่มนี้เราขอเรียกร้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประชุมเพื่อเตรียมการโดยเร็วที่สุด โดยเบื้องต้นจะเริ่มในเดือน ม.ค.2564

ปัญหาในการต่อสู้กับอาชญากรรมไซเบอร์นั้น คือ การขาดกรอบกฎหมายระหว่างประเทศที่ครอบคลุม และเป็นกฎหมายหลักในการสร้างความร่วมมือในการต่อต้านการใช้งานของอาชญากรในการใช้งานการป้องกันเทคโนโลยีสื่อสาร (ICT) หรือแม้แต่การใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน หน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว คือการสร้างเครื่องมือทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการจัดทำอนุสัญญาสากลในขอบเขตนี้อย่างละเอียด

ในขณะเดียวกัน รัสเซียได้ให้ความสำคัญเรื่องความร่วมมือกับประเทศไทย และภูมิภาค เพราะขณะที่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้นำพวกเราไปสู่กิจกรรมทางออนไลน์มากยิ่งขึ้นนั้น กิจกรรมทางการเงิน และการโอนเงินจากในประเทศไปในภูมิภาคต่างๆ อาจกลายไปเป็นเป้าหมายหลักของอาชญากรรมทางไซเบอร์มากขึ้นเช่นกัน ในปี 2562 ประเทศไทยได้เน้นย้ำในหัวข้อนี้ รวมถึงการสร้างกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพันธมิตรต่างชาติเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในภาระสำคัญของประธานอาเซียน

...

ประเทศรัสเซียสนับสนุนให้มีการเจรจา และปรึกษาหารือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุกๆปีจะมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐได้เข้าร่วมงานสัปดาห์ไซเบอร์นานาชาติของสิงคโปร์ (Singapore International Cyber Week) โดยทางเราหวังว่างานนี้จะเป็นสถานที่สำหรับการปรึกษาหารือระหว่างอาเซียน-รัสเซีย ในเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์

แม้จะมีการกล่าวหาถึงความเป็นอันตรายเกี่ยวกับเจตนาร้ายในเรื่องการทำงานดิจิทัลของรัสเซียอย่างไร้เหตุผล แต่ประเทศเราก็ยังเปิดกว้างสำหรับความร่วมมือในเรื่องการจัดการความปลอดภัยของสารสนเทศระดับโลก (IIS) และการต่อสู้กับอาชญากรรมไซเบอร์ เราเชื่อมั่นว่าหนทางสู่สันติภาพ ความปลอดภัยในพื้นที่ข้อมูล และโทรคมนาคมทั่วโลกนั้นขึ้นอยู่กับการสนทนากัน และการใช้กลไกทวิภาคีในความร่วมมือระหว่างประเทศ.