ลิกนิน (Lignin) เป็นสารประกอบเชิงซ้อนในพืช มีประโยชน์ช่วยเสริมสร้างผนังเซลล์ของพืชทำให้กลายเป็นไม้ (lignify) ซึ่งก็เป็นกลไกที่ช่วยให้พืชป้องกันตัวเองจากลมหรือศัตรูพืชได้ ลิกนินยังเป็นสิ่งเหลือใช้จากการผลิตกระดาษ หรือในอุตสาหกรรมน้ำตาล มีการสกัดเอาลิกนินจากกากอ้อยเพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน
ล่าสุด ทีมวิจัยนำโดยผู้เชี่ยวชาญวัสดุชีวภาพด้านป่าไม้ จากมหาวิทยาลัยไฟรบูร์ก ในเยอรมนี ได้พัฒนาสารสังเคราะห์ที่ย่อยสลายได้จากไม้ ที่จะสามารถนำไปใช้ในโครงสร้างน้ำหนักเบา โดยสร้างวัสดุรูปแบบใหม่ๆ หรือเป็นนวัตกรรมวัสดุ
ไบโอเพสท์ (biopaste) ที่มีความหนืด ง่ายต่อการแปรรูป แข็งตัวเร็ว เหมาะสำหรับการผลิตโครงสร้างง่ายๆ ไปจนถึงโครงสร้างที่ซับซ้อน ด้วยการใช้กระบวนการพิมพ์แบบ 3 มิติ
ทีมวิจัยเผยว่าลิกนินจะเกาะติดกับโครงสร้างจุลภาคในกระบวนการสร้างสารสังเคราะห์ทางชีวภาพ มันจะตอบสนองได้อย่างมั่นคงหรือยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับทิศทางที่มาของแรง การทดลองในปัจจุบัน มีการใช้ลิกนินจากต้นบีช แต่หากได้มาจากพืชชนิดอื่นก็จะมีลักษณะของวัสดุที่แตกต่างกันเล็กน้อย เช่น ผลึกเหลวที่แตกต่างกันแม้ว่าทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเซลลูโลสก็ตาม อย่างไรก็ตาม ทีมมองว่ายังต้องวิจัยเพิ่มเติมจนกว่าจะสามารถนำวัสดุนี้ไปใช้ในอุตสาหกรรม อย่างการผสมในโครงสร้างน้ำหนักเบา.
(ภาพประกอบ Credit : Lisa Ebers)