โอมัวมัว (Oumuamua) เป็นวัตถุจากช่องว่างระหว่างดวงดาวที่มาจากนอกระบบสุริยะ มีรูปร่างคล้ายซิการ์สีแดงยาวประมาณ 400 เมตร สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจศึกษาก็คือการเคลื่อนไหว รูปลักษณ์ที่แห้งแล้ง ไม่มีหาง ฝุ่น และก๊าซ ทำให้ต่อมาระบุว่าโอมัวมัวไม่ใช่ดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยแบบปกติทั่วไป
นักวิทยาศาสตร์กังขาถึงต้นกำเนิดและธรรมชาติของโอมัวมัว ตั้งแต่ค้นพบในปี พ.ศ. 2560 บ้างก็ว่าเป็นยานอวกาศของมนุษย์ต่างดาว แต่เมื่อเร็วๆนี้นักดารา-ศาสตร์จากหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์โกตดาซูร์ในฝรั่งเศส และนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานตาครูซ ในสหรัฐอเมริกา เผยผลการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์และระบุว่าโอมัวมัวคือเศษซากของดาวเคราะห์ที่ถูกทำลายจนฉีกขาดออกจากกัน เมื่อดาวเคราะห์อยู่ใกล้ดาวฤกษ์ของตน โดยถูกแรงไทดัล (Tidal forces) ของดาวฤกษ์ ซึ่งเป็นความแตกต่างของแรงโน้มถ่วงได้กระทำต่อตำแหน่งต่างๆ ของดาวเคราะห์นั่นเอง ซึ่งเกิดขึ้นแบบเดียวกับเมื่อครั้งดาวหางชื่อ Shoe-maker-Levy 9 เดินทางไปใกล้ดาวพฤหัสฯมากเกินไปในปี พ.ศ.2535
...
ทีมวิจัยเผยว่า ชิ้นส่วนของดาวเคราะห์ที่อยู่ทั้งใกล้และไกล จะถูกแยกออกเป็นชิ้นๆ และก่อตัวกลุ่มซากจากดาวเคราะห์ที่หายนะจนมีความยาว บางชิ้นส่วนก็หลอมรวมเข้าด้วยกันกลายเป็นวัตถุที่มีรูปร่างคล้ายโอมัวมัว การศึกษานี้จึงชี้ให้เห็นว่าทฤษฎีแพนสเปอร์เมีย (Panspermia) ที่ว่าถึงการแพร่กระจายของจุลินทรีย์หรือสารตั้งต้นทางเคมีของสิ่งมีชีวิตบนวัตถุที่พุ่งผ่านอวกาศนั้นมีความเป็นไปได้มาก.