ภาพ : Duke-NUS Medical School
ต่อมพาราไทรอยด์เป็นต่อมเล็กๆ มีอยู่ 4 แห่งอยู่ด้านหลังต่อมไทรอยด์ทั้ง 2 ข้าง ซึ่ง ต่อมพาราไทรอยด์จะสร้างพาราไทรอยด์ฮอร์โมน (parathyroid hormone-PTH) ให้ทำหน้าที่รักษาระดับแคลเซียมในเลือด แต่หากเกิดความผิดปกติที่ต่อมผลิต PTH มากเกินไป แคลเซียมในเลือดก็สามารถนำไปสู่การเป็นนิ่วในไต เกิดความผิดปกติของระบบประสาทและความผิดปกติ ของกระดูก โดยเฉพาะในสตรีผู้สูงอายุ
ล่าสุดมีการศึกษานำโดยนักวิจัยจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และมหาวิทยาลัยดุ๊กแห่งสหรัฐอเมริกา (Duke-NUS Medical School) เผยการค้นพบโปรตีนที่ชื่อ เซมาฟอริน 3d (semaphorin3d หรือ Sema3d) ที่อาจส่งสัญญาณปกป้องต่อมพาราไทรอยด์จากความผิดปกติของกิจกรรมที่มีมากเกินไป และยังอาจให้ข้อมูลเชิงลึกสำหรับการพัฒนายาในการรักษาภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง (hyperparathy-roidism) เพราะปัจจุบันการรักษาทำได้เพียงผ่านการผ่าตัด
ทีมวิจัยเชื่อว่าโปรตีน Sema3d จะมีบทบาทการป้องกันด้วยการจำกัดการเพิ่ม จำนวนเซลล์พาราไทรอยด์ โดยจะยับยั้งเส้นทางการส่งสัญญาณของยีนที่ชื่อ Epi-dermal Growth Factor Receptor-EGFR และโปรตีน ERBB ที่อาจเกี่ยวข้อง กับเนื้องอกชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็น ไปได้ว่าจะนำไปสู่การพัฒนา วิธีการรักษาโรคมะเร็งโดยใช้โปรตีน Sema3d ที่ดัดแปลงพันธุกรรมหรือคิดค้นยาที่กำหนดเป้าหมายตามทิศทางของโปรตีน.