(ภาพ : นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ เป็นประธานเปิดงาน “20 ปี กรมการกงสุลและกงสุลแฟร์” โดยมี ชัยสิริ อนะมาน ที่ปรึกษา รมว.ต่างประเทศและ ชาตรี อรรจนานันท์ อธิบดีกรมการกงสุล พร้อมตัวแทนจากสถานทูตต่างๆ ร่วมพิธี ที่กรม.)

กรมการกงสุล เป็นหน่วยงานบริการประชาชนและชาวต่าง-ประเทศของกระทรวงการต่างประเทศ ที่พัฒนาการบริการสะดวกและรวดเร็วมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นกรมที่ทำรายได้เข้ากระทรวง มากที่สุด

เอ่ยชื่อหน่วยงานในกรมการกงสุล เชื่อว่าทุกคนจะคุ้นชื่อและคุ้นเคยกับงานบริการเป็นอย่างดี อาทิ กองหนังสือเดินทาง, กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ, กองสัญชาติและ นิติกรณ์, กองตรวจลงตราวีซ่า และ ศูนย์เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

ปีนี้ครบรอบ 20 ปี ที่ กรมการกงสุล ก่อตั้งและเปิดบริการประชาชน ได้รับรางวัลมากมาย โดยเฉพาะรางวัลหน่วยงานต้นแบบการบริการประชาชนสะดวกรวดเร็ว ภายใต้สโลแกน “การทูตเพื่อประชาชนทุกหนแห่งเราดูแล”

นายชัยสิริ อนะมาน และ นายจักร บุญ-หลง อดีตอธิบดีกรมการกงสุล และ นายชาตรี อรรจนานันท์ อธิบดีคนปัจจุบัน ร่วมเสวนาการพัฒนา “การทูตเพื่อประชาชน”.
นายชัยสิริ อนะมาน และ นายจักร บุญ-หลง อดีตอธิบดีกรมการกงสุล และ นายชาตรี อรรจนานันท์ อธิบดีคนปัจจุบัน ร่วมเสวนาการพัฒนา “การทูตเพื่อประชาชน”.

...

น.ส.บุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงพร้อมด้วย จักร บุญ-หลง อดีตอธิบดีกรมการกงสุล มาร่วมงาน.
น.ส.บุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงพร้อมด้วย จักร บุญ-หลง อดีตอธิบดีกรมการกงสุล มาร่วมงาน.

ครบรอบ 20 ปีทั้งที นายชาตรี อรรจนานันท์ อธิบดีกรมการกงสุล คนปัจจุบัน จึงมีแนวคิดจัดงาน “20 ปี กรมการกงสุลและกงสุลแฟร์” ที่อาคารกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างวันที่ 2-3 ก.พ.2562 ที่ผ่านมา นำสินค้าและผลิตภัณฑ์จากทั่วประเทศ ที่มีสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว และจากสถานทูตต่างๆมาออกร้านจำหน่าย

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ ไปเป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันที่ 2 ก.พ. โดยมี นายชัยสิริ อนะมาน ที่ปรึกษา รมว. นายธานี ทองภักดี รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ น.ส.บุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวง นายชาตรี อรรจนานันท์ อธิบดีกรมการกงสุล รวมทั้งอดีตอธิบดีกรมการกงสุลและเอกอัครราชทูตที่เคยผ่านงานจากกรมนี้ มาร่วมงานกันคับคั่ง

สีสันในงานที่น่าสนใจคือ น.ส.เขมนิจ จามิกรณ์ หรือ แพนเค้ก ดารานักแสดง ผู้ได้รับเชิญเป็น “ทูตหนังสือเดินทาง” หรือ “พาสปอร์ต แบรนด์ แอมบาสเดอร์” เพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์การบริการของกรมการกงสุล และ นายศรัณยู วินัยพานิช หรือ ไอซ์ ศิลปินนักร้อง ในฐานะ “เวิลด์ เทรเวลเลอร์” และนักท่องเที่ยวยุค 4.0 โดยทั้ง 2 คน เป็นนักแสดงและนักร้องที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนรุ่นใหม่ในการเดินทาง

นายธานี ทองภักดี รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ถ่ายภาพร่วมกับ ชัยสิริ อนะมาน, จักร บุญ-หลง และ วราวุธ ชูวิรัช อดีตอธิบดีกรมการกงสุล.
นายธานี ทองภักดี รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ถ่ายภาพร่วมกับ ชัยสิริ อนะมาน, จักร บุญ-หลง และ วราวุธ ชูวิรัช อดีตอธิบดีกรมการกงสุล.

...

ส่วนบรรยากาศในงานเป็นไปอย่างคึกคัก สินค้าตามบูธต่างๆ ได้รับความสนใจ รวมทั้งบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นจาก รพ.จุฬาภรณ์ แต่ที่คนไปรอกันแน่นขนัดคือ บริการทำหนังสือเดินทางวันหยุด ไปรอทำกันทั้งครอบครัวนับพันคน และบริการรับเรื่องร้องทุกข์แก่คนที่ตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศ

สำหรับไฮไลต์ในงานคือการเสวนา “20 ปี กรมการกงสุล : เหลียวหลังแลหน้างานการทูตเพื่อประชาชน” ที่ถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนมุมมองงานด้านกงสุล และการทูตเพื่อประชาชนของอธิบดีกรมการกงสุล 3 รุ่น กับโจทย์ใหญ่คือ “20 ปี กรมการกงสุล คนไทยได้อะไรจากอดีตจนถึงปัจจุบัน?”

นายชัยสิริ อนะมาน ที่ปรึกษา รมว.กต. และอดีตอธิบดีกรมการกงสุลคนแรก กล่าวว่า ครบรอบวันก่อตั้งกรมการกงสุล เป็น “จุดเปลี่ยน” สำคัญของงานการทูตเพื่อประชาชนของกระทรวงการต่างประเทศ จากเดิมที่ภารกิจด้านกงสุลกระจายอยู่ภายใต้หน่วยงานต่างๆ ได้ถูกรวมไว้ภายใต้กรมการกงสุล

ทำให้กรมการกงสุลในยุคนั้นเป็นหน่วยราชการแรกๆที่เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (one stop service) กล่าวคือ ประชาชนที่ต้องการทำหนังสือเดินทางรับรองนิติกรณ์เอกสาร ขอให้ช่วยเหลือญาติพี่น้องที่เดือดร้อนในต่าง ประเทศ สามารถมาติดต่อขอรับบริการที่กรมการกงสุลเพียงจุดเดียว และมีการนำระบบคิวมาใช้ในการจัดระเบียบการให้บริการประชาชน จนได้รับรางวัล ISO 9002

แพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์ ได้รับแต่งตั้งเป็น “ทูตหนังสือเดินทาง”.
แพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์ ได้รับแต่งตั้งเป็น “ทูตหนังสือเดินทาง”.

...

ไอซ์-ศรัณยู วินัยพานิช ได้รับหนังสือเดินทางในฐานะ “เวิลด์ เทรเวลเลอร์”.
ไอซ์-ศรัณยู วินัยพานิช ได้รับหนังสือเดินทางในฐานะ “เวิลด์ เทรเวลเลอร์”.

“สิ่งที่อยากฝากไว้ในฐานะอธิบดีคนแรกก็คือ การสืบทอดปณิธานการทำงานเพื่อประชาชน และขอให้กรมการกงสุลเป็นเสมือน “บ้าน” ที่อบอุ่นสำหรับประชาชนที่มาพึ่งพาและมารับบริการตลอดไป” นายชัยสิริ กล่าว

นายจักร บุญ–หลง อดีตอธิบดีคนที่ 5 และอดีต ออท. ณ กรุงย่างกุ้ง กล่าวว่า กรมการกงสุลเป็นหน่วยงานเดียวของกระทรวงการต่างประเทศที่ “เข้าถึง” ประชาชน เป็นงานที่“จับต้องได้” อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะงานดูแลและคุ้มครองคนไทย 1.6 ล้านคนทั่วโลก ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีมีเหตุการณ์ใหญ่ 3 เรื่องในงานด้านคุ้มครองคนไทย ได้แก่ การอพยพแรงงานไทยในลิเบียจากภัยสงคราม การอพยพนักเรียนไทยในอียิปต์ และการอพยพคนไทยเหตุสึนามิในญี่ปุ่น ซึ่งขณะนั้นต้องทำงานแข่งกับเวลาตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน เพื่อพาคนไทยกลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยให้ได้

...

ปัจจุบันคนไทยเดินทางไปต่างประเทศสะดวกขึ้น โอกาสที่คนไทยจะประสบเหตุในต่าง แดนก็มากขึ้น ในขณะที่ปัญหามีความซับซ้อนขึ้น ทั้งปัญหาแรงงาน หญิงไทย นักเรียนไทย การทำงานด้านกงสุลเชิงรุกจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการ reach out ให้ข้อมูลคนไทยในต่างจังหวัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างความตระหนักรู้

นายจาตุรนต์ ไชยะคำ ผอ.กองหนังสือเดินทาง และ นายสัณห์ อรุณรักษ์ติชัย รอง ผอ. มาคอยดูแลประชาชนที่ไปทำหนังสือเดินทาง.
นายจาตุรนต์ ไชยะคำ ผอ.กองหนังสือเดินทาง และ นายสัณห์ อรุณรักษ์ติชัย รอง ผอ. มาคอยดูแลประชาชนที่ไปทำหนังสือเดินทาง.

นายชาตรี อรรจนานันท์ อธิบดีกรมการกงสุล กล่าวว่า ปัจจุบันกรมการกงสุลก้าวมาถึงปีที่ 20 เป็นงานกงสุลในยุคที่มีประชาชนเป็น ศูนย์กลางของการบริการ (people-centric services) และมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก ประชาชนทำหนังสือเดินทางได้ในเวลาเพียง 15 นาที ที่จุดบริการรับคำร้อง 19 แห่งทั่วประเทศ และใน 96 แห่งทั่วโลก

การเปิดตัว e-Visa ระบบการตรวจลงตราอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการลดภาระค่าใช้จ่ายและเวลาในการรับรองนิติกรณ์เอกสารด้วยการเปิดตัวบริการเอกสารการทะเบียนภาษาอังกฤษ ซึ่ง กรมการกงสุล พัฒนาร่วมกับ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ส่วน การคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการช่วยเหลือคนไทย อาทิ การเพิ่มฟีเจอร์ SOS ในแอป ThaiConsular ของกรมการกงสุล เพื่อให้คนไทยสามารถขอความช่วยเหลือและแจ้งพิกัดที่อยู่ในต่างประเทศในกรณีฉุกเฉินและเร่งด่วน

ประชาชนไปรอเข้าคิวทำหนังสือเดินทาง ที่เปิดบริการทำวันหยุด เนื่องในงาน “กงสุลแฟร์” วันละเกือบ 1 พันคน.
ประชาชนไปรอเข้าคิวทำหนังสือเดินทาง ที่เปิดบริการทำวันหยุด เนื่องในงาน “กงสุลแฟร์” วันละเกือบ 1 พันคน.

ความท้าทายของงานกงสุลในอนาคต คือ ทำอย่างไรที่จะบริหารจัดการและออกแบบงานกงสุลให้ตอบสนองความต้องการของประชาชน การพัฒนาเครื่องมือ ระเบียบ กลไกในการดูแลคนไทยทุกมิติ

ในการเป็น “e-Consular” อาทิ กรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องหนังสือเดินทางและตรวจลงตรา การขับเคลื่อนกลไก “คณะกรรมการสหวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและบทบาทคนไทยในต่าง ประเทศ” ซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแลคนไทยในต่างประเทศ และการพัฒนาบุคลากรสายงานกงสุลมืออาชีพในอนาคต

ผลิตภัณฑ์และสินค้าภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงาน
ผลิตภัณฑ์และสินค้าภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงาน
นายชาตรี อรรจนานันท์ อธิบดีกรมการกงสุล เยี่ยมบูธของสถานทูตต่างๆ ที่นำสินค้ามาร่วมจำหน่ายในงานเป็นที่ชื่นชอบของผู้ไปร่วมงาน.
นายชาตรี อรรจนานันท์ อธิบดีกรมการกงสุล เยี่ยมบูธของสถานทูตต่างๆ ที่นำสินค้ามาร่วมจำหน่ายในงานเป็นที่ชื่นชอบของผู้ไปร่วมงาน.
ผ้าไหมอีสาน จาก จ.อุบลราชธานี ได้รับความนิยมจากผู้ชื่นชอบผ้าไทยมาเลือกซื้อ.
ผ้าไหมอีสาน จาก จ.อุบลราชธานี ได้รับความนิยมจากผู้ชื่นชอบผ้าไทยมาเลือกซื้อ.

ด้าน นางสาวภัทรัตน์ หงษ์ทอง รองอธิบดีกรมการกงสุล กล่าวสรุปตอนท้ายว่า ประสบการณ์และวิสัยทัศน์ของผู้บริหารกรมจากเวทีนี้จะเป็น “เข็มทิศ” ให้กรมการกงสุลสามารถรับมือกับความท้าทายข้างหน้าได้อย่างมั่นใจและก้าวเดินต่อไปอย่างมั่นคง.

ทีมข่าวภูมิภาค รายงาน