อยู่ดีๆก็กลายเป็นข่าวฉาวสะท้านเมือง

กรณีอดีตนักมวยชื่อดัง “สมรักษ์ คำสิงห์” กับเด็กสาววัย 17 ปี

พอดีมีนักกฎหมายท่านหนึ่งส่งบทวิเคราะห์มาให้อ่าน เห็นน่าสนใจดี เพราะไม่ได้ต้องการชื่อเสียง ความดัง หรือโหนกระแส เลยอยากเอามาถ่ายทอด...

ก่อนที่คดีพ่อใหญ่นักมวยชื่อดังระดับเหรียญทองโอลิมปิก จะถูกตำรวจเรียกไปแจ้งข้อกล่าวหา ว่าไป “รุ่มร่าม” กับเด็กสาววัย 17 ปี ไม่ว่าจะด้วยตัวบทกฎหมายมาตราอะไรก็ตาม

แต่รูปคดีคงเป็นอาญาแผ่นดิน ยอมความกันไม่ได้!

เมื่อเริ่มสอบสวนตำรวจจะนำตัวมาฝากขังในอำนาจศาลได้ 84 วัน หลังจากนั้นคงได้ประกันออกไปต่อสู้คดีพออยู่ในชั้นศาลก็เป็นเรื่องที่สุดจะคาดเดา?

ช่วงนี้เริ่มมีบัณฑิตทางกฎหมายมาอธิบายกฎหมายอาญาที่เป็นตัวเต็งว่า ต้องโดนข้อหานั้นนี้เยอะแยะ แต่ถ้าคดีถึงขั้นฟ้องเป็นจำเลย อยู่ระหว่างพิจารณา คราวนี้ล่ะ ห้ามพูดแล้วนะ

แต่ตอนนี้พูดได้ เลยขอวางหลักกฎหมายอาญามาตรา 59 วรรคแรกกับวรรค 3 ไว้ก่อน?

หัวใจของมาตรานี้คือ คนจะรับผิดทางอาญาต้องมีการกระทำโดยเจตนา

การกระทำคือการเคลื่อนไหวร่างกายภายใต้จิตสำนึก ส่วนเจตนามันอยู่ในใจ มองไม่เห็น “แต่กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา”

การจะให้ “นักมวย” รับผิด ต้องมีหลักฐานเพียงพอว่า เขากระทำถึงขั้นลงมือครบองค์ประกอบภายนอกของความผิด (คืออายุของเด็ก) กับองค์ประกอบภายในว่าชั่วร้ายระยำจริงไหม?

สรุปง่ายๆ มาตรานี้บอกว่า ถ้าใครจะติดคุกเพราะทำผิดต้อง “รู้” ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด (สมัยเรียนเนติ ผมเรียกองค์ประกอบความระยำ)

...

แต่ถ้า“ไม่รู้ถือว่าไม่มีเจตนา”

วางหลักกฎหมายแล้วมาเข้าเรื่อง (อ่านต่อพรุ่งนี้).

สหบาท

คลิกอ่านคอลัมน์ “ส่องตำรวจ” เพิ่มเติม