คุกคนละ 10 ปี สัมฤทธิ์ บัณฑิตกฤษดา อดีตปธ.สโมสรทีมฟุตบอลเพื่อนตำรวจ กับคู่หู ปลอมตั๋วแลกเงินแบงก์ฮ่องกง ตุ๋น สกสค.กู้เงินกว่า 2 พันล้าน เมื่อวันที่ 16 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานจากศาลอาญา...

วันที่ 16 มี.ค.61 ที่ผ่านมา ศาลได้อ่านคำพิพากษาคดีปลอมตั๋วเงิน หมายเลขดำอ.134/2559 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสัมฤทธิ์ บัณฑิตกฤษดา อายุ 43 ปี หรือ เดอะบิ๊ก อดีตประธานสโมสรทีมฟุตบอลเพื่อนตำรวจ ในศึกไทยลีกและนายสิทธินันท์ หลอมทอง อายุ 36 ปี กรรมการผู้มีอำนาจบริษัท บิลเลี่ยน อินโนเวเท็ด กรุ๊ป จำกัดร่วมกันเป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้ตั๋วเงินปลอม

คุกคนละ 10 ปี สัมฤทธิ์ บัณฑิตกฤษดา อดีตปธ.สโมสรทีมฟุตบอลเพื่อนตำรวจ กับคู่หู ปลอมตั๋วแลกเงินแบงก์ฮ่องกง ตุ๋น สกสค.กู้เงินกว่า 2 พันล้าน เมื่อวันที่ 16 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานจากศาลอาญา ว่า เมื่อวันที่ 15 มี.ค. ที่ผ่านมา ศาลได้อ่านคำพิพากษาคดีปลอมตั๋วเงิน หมายเลขดำ อ.134/2559 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสัมฤทธิ์ บัณฑิตกฤษดา อายุ 43 ปี หรือ เดอะบิ๊ก อดีตประธานสโมสรทีมฟุตบอลเพื่อนตำรวจ ในศึกไทยลีกและนายสิทธินันท์ หลอมทอง อายุ 36 ปี กรรมการผู้มีอำนาจบริษัท บิลเลี่ยน อินโนเวเท็ด กรุ๊ป จำกัดร่วมกันเป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้ตั๋วเงินปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 266 (4) ,268 ตามฟ้องของอัยการโจทก์เมื่อวันที่ 11 เม.ย.2559 ระบุพฤติการณ์ความผิดของจำเลยสรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 27 ธ.ค.2556 – 21 ก.ค.2557 จำเลยกับ บริษัทบิลเลี่ยน อินโนเวเท็ด กรุ๊ป จำกัด โดยนายสิทธินันท์ หลอมทอง กรรมการผู้มีอำนาจ และในฐานะส่วนตัว กับพวกของจำเลย ได้ร่วมกันปลอมเอกสารตั๋วแลกเงิน หรือดราฟท์ (Draft ตราสารที่ธนาคารจะเป็นผู้ออกให้ใช้สำหรับการเรียกเก็บหรือชำระเงินค่าสินค้าต่างๆ ที่จะระบุว่าให้บุคคลใดจ่ายเงินให้แก่บุคคลใด) ทั้งฉบับของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ แบงก์กิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยพวกจำเลยร่วมกันนำกระดาษที่มีลวดลาย พิมพ์ด้วยอักษรภาษาอังกฤษสีเทาจางๆ ในชื่อของธนาคารดังกล่าวเรียงต่อกันจนเต็มพื้นที่หน้ากระดาษ และตัดให้มีขนาดประมาณ 8 x 20 ซม.ใกล้เคียงกับขนาดแบบฟอร์มตั๋วแลกเงินฉบับตัวจริง และพิมพ์อักษรตัวย่อภาษาอังกฤษ ของ HSBC ตามด้วยเครื่องหมายของธนาคารบนมุมด้านซ้ายมือ รวมทั้งการพิมพ์หมายเลข, วันที่ แสดงไว้สำหรับการสั่งจ่ายเงินก่อนที่จะนำตั๋วแลกเงินปลอม มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 3,200 ล้านบาท ไปแสดงต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กระทรวงศึกษาธิการ ผู้เสียหาย จนหลงเชื่อว่า เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันตั๋วสัญญาใช้เงินของ บริษัท บิลเลี่ยนฯ จำนวน 2,100 ล้านบาท ที่จำเลยกับพวกร่วมกันนำมาหลอกขายให้ สกสค. ทำให้ สกสค.เชื่อว่า พวกจำเลยสามารถหาหลักทรัพย์ที่มีความน่าเชื่อถือเทียบเท่ากับธนาคารเป็นอาวัล (การรับประกัน การใช้เงินตามตั๋วเงิน) กระทั่งคณะกรรมการบริหารกองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคงตามโครงการสวัสดิการเงินกู้ ชพค.ยึดถือไว้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน การที่จำเลยกับพวกนำตั๋วสัญญาใช้เงินปลอมมาหลอกขายให้กับ สกสค.ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่า เป็นของปลอม จึงเป็นความผิด โจทก์จึงขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 , 266 (4) ,268 จำเลยให้การปฏิเสธต่อสู้คดีโดยไม่ได้รับการประกันตัวตั้งแต่ชั้นจับกุม-ฝากขัง และถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพเรื่อยมา ศาลพิเคราะห์คำเบิกควา ม และพยานหลักฐานที่โจทก์-จำเลย นำสืบหักล้างกันแล้วเห็นว่า การกระทำของจำเลย ทั้งสอง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 (4),268วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 ที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้ร่วมกันปลอมและใช้ตั๋วเงินปลอมนั้นเอง พิพากษาลงโทษฐานร่วมกันใช้ตั๋วเงินปลอมเพียงกระทงเดียว ตามมาตรา 268 วรรคสอง ให้จำคุกจำเลยทั้งสองไว้คนละ 10 ปี ริบของกลาง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการกล่าวหาความผิดดังกล่าว สืบเนื่องจากได้มีการกู้เงินกับกองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคงตามโครงการสวัสดิการเงินกู้กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) จำนวน 3 ครั้ง มูลค่ารวมกว่า 2,000 ล้านบาท แต่ต่อมาทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ตรวจสอบพบว่า ไม่ได้มีการทำเรื่องกู้ที่ถูกต้องตามขั้นตอน เนื่องจากการกู้ยืมดังกล่าวไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจาก สกสค. และยังพบว่าเอกสารที่ใช้ในการกู้ยืมเป็นเอกสารปลอม ไม่สามารถใช้เป็นเอกสารหรือหลักฐานในการค้ำประกันเงินกู้ได้จริง จึงร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ตรวจสอบและดำเนินคดีกับจำเลยในที่สุด

...

การที่จำเลยกับพวกนำตั๋วสัญญาใช้เงินปลอมมาหลอกขายให้กับ สกสค.ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่า เป็นของปลอม จึงเป็นความผิด โจทก์จึงขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 , 266 (4) ,268

จำเลยให้การปฏิเสธต่อสู้คดีโดยไม่ได้รับการประกันตัวตั้งแต่ชั้นจับกุม -ฝากขัง และถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพเรื่อยมา

ศาลพิเคราะห์คำเบิกความ และพยานหลักฐานที่โจทก์ – จำเลย นำสืบหักล้างกันแล้วเห็นว่า การกระทำของจำเลย ทั้งสอง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 (4),268วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 ที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้ร่วมกันปลอมและใช้ตั๋วเงินปลอมนั้นเอง

พิพากษาลงโทษฐานร่วมกันใช้ตั๋วเงินปลอมเพียงกระทงเดียว ตามมาตรา 268 วรรคสอง ให้จำคุกจำเลยทั้งสองไว้คนละ 10 ปี ริบของกลาง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการกล่าวหาความผิดดังกล่าว สืบเนื่องจากได้มีการกู้เงินกับกองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคงตามโครงการสวัสดิการเงินกู้กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) จำนวน 3 ครั้ง มูลค่ารวมกว่า 2,000 ล้านบาท แต่ต่อมาทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ตรวจสอบพบว่า ไม่ได้มีการทำเรื่องกู้ที่ถูกต้องตามขั้นตอน เนื่องจากการกู้ยืมดังกล่าวไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจาก สกสค. และยังพบว่าเอกสารที่ใช้ในการกู้ยืมเป็นเอกสารปลอม ไม่สามารถใช้เป็นเอกสารหรือหลักฐานในการค้ำประกันเงินกู้ได้จริง จึงร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ตรวจสอบและดำเนินคดีกับจำเลยในที่สุด