การขับรถเดินทางไกล นอกจากจะต้องตรวจสอบความพร้อมของรถยนต์ในจุดต่างๆ โดยเฉพาะล้อยางซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญหมายถึงความเป็นความตายในขณะที่ใช้ความเร็ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่ายางอยู่ในสถานะที่พร้อมสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวไปได้ทุกที่ที่อยากไป มีวิธีสังเกตอาการของยางรถยนต์ว่าถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนยางแล้วหรือยัง เพื่อให้รถของคุณ พร้อมรับมือกับทุกเส้นทางอย่างปลอดภัยโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่ถนนเปียกชื้นซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้น  

อายุการใช้งาน
หากยางรถยนต์มีอายุการใช้งานครบ 6 ปี นับจากวันผลิต หรือมีความลึกดอกยางน้อยกว่า 3 มม. หรือใช้งานมาประมาณ 40,000-50,000 กิโลเมตร ควรเปลี่ยนยางโดยทันที รวมถึงยางอะไหล่ที่ควรตรวจสอบและเปลี่ยนทันที โดยไม่ต้องคำนึงถึงการสึกของดอกยางแต่อย่างใด

เมื่อไหร่ต้องเปลี่ยนยาง?
ยางรถยนต์ทุกชนิด ทุกเกรด และทุกประสิทธิภาพ ล้วนแล้วแต่มีวันที่จะเก่าและเสื่อมลงตามกาลเวลา เพราะการวิ่งบนถนนหลากหลายรูปแบบ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และการใช้งานในเรื่องของลักษณะการขับขี่ รวมถึงอุณหภูมิเขตร้อนชื้นของประเทศไทย ส่งผลต่อเนื้อยาง หน้ายาง และดอกยาง ผลกระทบเหล่านั้นสามารถสังเกตได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ดังนี้

...

รอยรั่ว รอยบาก หรือเศษของมีคมบนยาง ไม่ควรปล่อยให้รถวิ่งบนยางที่มีตำหนิหรือเศษสิ่งแปลกปลอมติดบนยาง เพราะอาจเป็นเหตุให้ยางแตก รั่ว และเกิดอันตรายได้ กรณีที่ยางจำเป็นต้องปะซ่อม ขอแนะนำให้ใช้วิธีการซ่อมแบบดอกเห็ดเท่านั้น และหลีกเลี่ยงการปะยางแบบแทงใยไหมหรือสตรีมโดยเด็ดขาด เพราะทำให้ยางเกิดความเสียหาย

ควบคุมรถบนถนนที่ลื่นได้ยากขึ้น - ความลึกของดอกยางจะลดต่ำลงตามระยะทางขับขี่ที่ใช้งานไป และจะส่งผลต่อการยึดเกาะถนนของรถเมื่อขับรถบนถนนที่ลื่นหรือที่เรียกว่าอาการเหินน้ำ ซึ่งทำให้รถเสียการทรงตัวระหว่างการขับขี่ โดยเฉพาะเมื่อความลึกดอกยางน้อยกว่า 3 มม.

ระยะทางในการเบรกยาวขึ้นกว่าปกติ การใช้งานยางเมื่อผ่านไปในช่วงระยะเวลาหนึ่งจะเป็นเรื่องธรรมดาที่ดอกยางจะตื้นลง จึงควรเปลี่ยนยางทันทีเมื่อความลึกดอกยางน้อยกว่า 3 มิลลิเมตร เพราะจะส่งผลต่อระยะเบรกที่ยาวขึ้นโดยเฉพาะเมื่อขับขี่บนถนนเปียก

ดอกยางสึกไม่สม่ำเสมอกัน - การสึกหรอไม่เท่ากันของดอกยาง เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเติมลมยางที่ไม่ถูกต้อง หรือปัจจัยอื่น สังเกตได้จากจุดต่อไปนี้

...

· ขอบด้านนอกหรือขอบด้านในสึกมากกว่า (Toe wear) - เกิดจากการตั้งศูนย์ล้อ มุมบังคับเลี้ยว (มุม Toe) ไม่สมดุล

· หน้ายางด้านในหรือด้านนอกสึกมากกว่า (Camber wear) - เกิดจากการตั้งศูนย์ล้อแนวตั้ง (มุม Camber) ไม่ถูกต้อง

...

· ส่วนกลางของหน้ายางสึกหรอเป็นพิเศษ (Center Wear) - เกิดได้จากแรงดันลมยางที่มากเกินไป

· ส่วนขอบของหน้ายางทั้งด้านในและด้านนอกสึกหรอเป็นพิเศษ (Edge Wear) - บริเวณขอบทั้งสองด้านสึกมากเป็นพิเศษ เกิดจากแรงดันลมยางน้อยเกินไป