ถึงกับเครียด!! หลังสำนักข่าว "บลูมเบิร์ก" (Bloomberg) รายงานบทวิเคราะห์จากข้อมูลของ "ยูไนเต็ด เนชันส์" (United Nations) ว่า ในปี 2573 ประชากรไทยมากกว่าครึ่งจะมีอายุมากกว่า 60 ปี และส่วนใหญ่จะมี "ฐานะยากจน" ที่สำคัญ ไทยจะกลายเป็นประเทศแรกๆ ที่ประชากร "แก่ก่อนรวย!!"
หากจะว่ากันตามตรง ก่อนที่จะมีรายงานนี้ออกมาคนไทยไม่ได้ตระหนักถึงภาวะ "สังคมผู้สูงอายุ" กันมากนัก หรือต่อให้มีการพูดถึงก็เป็นเพียงการเอ่ยในแง่ของธุรกิจที่จะเข้ามามีบทบาทในอนาคต ซึ่งก็เหมาะกับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีฐานะในระดับหนึ่ง แต่ในแง่ของภาครัฐเอง ก็ต้องบอกว่ายังไม่เห็นอะไรแน่ชัด ขณะนี้ มีเพียง "เบี้ยผู้สูงอายุ" เดือนละ 600-1,000 บาทเท่านั้น
ซึ่งในสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันนี้ ก็พอจะมองอนาคตได้ว่า เงิน 600-1,000 บาทต่อเดือน "คงไม่พอใช้จ่าย"
แล้วจะทำอย่างไรถ้าไม่อยากจะ "แก่ก่อนรวย" หรือ "ลำบากตอนแก่" ดังที่บทวิเคราะห์เขาว่าไว้?
คนไทยต้อง "รวยก่อนแก่"
"ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์" ได้ตรวจสอบข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ และพบตัวเลขที่น่าตกใจ คือ ผู้สูงอายุจำนวนกว่า 2.8 ล้านคน "ไม่มีเงินออม" ส่วนคนที่บอกว่า "มีเงินออม" ก็ไม่ได้เยอะจนสามารถใช้จ่ายอย่างเกษมสำราญ มีจำนวนเพียงแค่ 3.5 แสนคนเท่านั้น ที่มีเงินออมมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป คิดเป็นสัดส่วนเพียง 4%
...
ฉะนั้น หากเราต้องการ "รวยก่อนแก่" เราจึงต้องเริ่ม "ออมเงิน"
ก่อนอื่นเราต้องวางเป้าหมายก่อนว่า ในแต่ละเดือนเราจะใช้จ่ายประมาณเท่าไร? โดยเฉลี่ยจะตกอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาท หรือถ้าคิดเผื่อก็อาจจะประมาณ 20,000-30,000 บาทต่อเดือน เมื่อเราพอจะรู้เป้าหมายที่เราจะใช้จ่ายในแต่ละเดือนแล้ว ก็ต้องเข้าใจก่อนว่ากว่าจะถึงวันเกษียณค่าครองชีพต่างๆ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงต้องมีการคำนวณอัตราเงินเฟ้อเข้าไปด้วย ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่ปลอดภัยจะอยู่ที่ 3%
พร้อมรึยังที่จะเริ่มเก็บ "เงินออม" ถ้าพร้อมแล้วมาคำนวณกัน
เงื่อนไข
- อัตราเงินเฟ้อ 3%
- อายุหลังเกษียณ 60-80 ปี
- ออมเงิน 15% ของเงินเดือน
- อัตราดอกเบี้ย 2.5% ต่อปี
| หากคุณอายุ 30 ปี
การออมแบบมีเป้าหมาย
• หากปกติใช้เงินเดือนละ 15,000 บาท คำนวณอัตราเงินเฟ้อที่ปลอดภัย 3% เท่ากับว่า หากอายุ 60 ปี ต้องมีเงินเผื่อใช้เดือนละ 27,000 บาท ดังนั้น เงินก้อนเพื่อวัยเกษียณจะอยู่ที่ประมาณ 6,480,000 บาท ดังนั้น คุณต้องออมเงินเดือนละ 12,000 บาท
• หากปกติใช้เงินเดือนละ 20,000 บาท คำนวณอัตราเงินเฟ้อที่ปลอดภัย 3% เท่ากับว่า หากอายุ 60 ปี ต้องมีเงินเผื่อใช้เดือนละ 48,545 บาท ดังนั้น เงินก้อนเพื่อวัยเกษียณจะอยู่ที่ประมาณ 11,650,800 บาท ดังนั้น คุณต้องออมเงินเดือนละ 21,575 บาท
• หากปกติใช้เงินเดือนละ 30,000 บาท คำนวณอัตราเงินเฟ้อที่ปลอดภัย 3% เท่ากับว่า หากอายุ 60 ปี ต้องมีเงินเผื่อใช้เดือนละ 72,817 บาท ดังนั้น เงินก้อนเพื่อวัยเกษียณจะอยู่ที่ประมาณ 17,476,080 บาท ดังนั้น คุณต้องออมเงินเดือนละ 32,363 บาท
การออมแบบสม่ำเสมอ
• หากเงินเดือน 20,000 บาท คำนวณเงินออม 15% ของเงินเดือน เท่ากับออมเดือนละ 3,000 บาท ดังนั้น อายุ 60 ปี มีเงินออม 1,620,010 บาท เฉลี่ยมีเงินใช้เดือนละ 6,750 บาท
• หากเงินเดือน 30,000 บาท คำนวณเงินออม 15% ของเงินเดือน เท่ากับออมเดือนละ 4,500 บาท ดังนั้น อายุ 60 ปี มีเงินออม 2,430,015 บาท เฉลี่ยมีเงินใช้เดือนละ 10,125 บาท
• หากเงินเดือน 40,000 บาท คำนวณเงินออม 15% ของเงินเดือน เท่ากับออมเดือนละ 6,000 บาท ดังนั้น อายุ 60 ปี มีเงินออม 3,240,020 บาท เฉลี่ยมีเงินใช้เดือนละ 13,500 บาท
| หากคุณอายุ 40 ปี
การออมแบบมีเป้าหมาย
• หากปกติใช้เงินเดือนละ 15,000 บาท คำนวณอัตราเงินเฟ้อที่ปลอดภัย 3% เท่ากับว่า หากอายุ 60 ปี ต้องมีเงินเผื่อใช้เดือนละ 27,091 บาท ดังนั้น เงินก้อนเพื่อวัยเกษียณจะอยู่ที่ประมาณ 6,501,840 บาท ดังนั้น คุณต้องออมเงินเดือนละ 20,693 บาท
...
• หากปกติใช้เงินเดือนละ 20,000 บาท คำนวณอัตราเงินเฟ้อที่ปลอดภัย 3% เท่ากับว่า หากอายุ 60 ปี ต้องมีเงินเผื่อใช้เดือนละ 36,122 บาท ดังนั้น เงินก้อนเพื่อวัยเกษียณจะอยู่ที่ประมาณ 8,669,280 บาท ดังนั้น คุณต้องออมเงินเดือนละ 27,592 บาท
• หากปกติใช้เงินเดือนละ 30,000 บาท คำนวณอัตราเงินเฟ้อที่ปลอดภัย 3% เท่ากับว่า หากอายุ 60 ปี ต้องมีเงินเผื่อใช้เดือนละ 54,183 บาท ดังนั้น เงินก้อนเพื่อวัยเกษียณจะอยู่ที่ประมาณ 13,003,920 บาท ดังนั้น คุณต้องออมเงินเดือนละ 41,388 บาท
การออมแบบสม่ำเสมอ
• หากเงินเดือน 20,000 บาท คำนวณเงินออม 15% ของเงินเดือน เท่ากับออมเดือนละ 3,000 บาท ดังนั้น อายุ 60 ปี มีเงินออม 942,598 บาท เฉลี่ยมีเงินใช้เดือนละ 3,928 บาท
• หากเงินเดือน 30,000 บาท คำนวณเงินออม 15% ของเงินเดือน เท่ากับออมเดือนละ 4,500 บาท ดังนั้น อายุ 60 ปี มีเงินออม 1,413,897 บาท เฉลี่ยมีเงินใช้เดือนละ 5,891 บาท
• หากเงินเดือน 40,000 บาท คำนวณเงินออม 15% ของเงินเดือน เท่ากับออมเดือนละ 6,000 บาท ดังนั้น อายุ 60 ปี มีเงินออม 1,885,196 บาท เฉลี่ยมีเงินใช้เดือนละ 7,855 บาท
...
• หากเงินเดือน 50,000 บาท คำนวณเงินออม 15% ของเงินเดือน เท่ากับออมเดือนละ 7,500 บาท ดังนั้น อายุ 60 ปี มีเงินออม 2,356,495 บาท เฉลี่ยมีเงินใช้เดือนละ 9,819 บาท
| หากคุณอายุ 50 ปี
การออมแบบมีเป้าหมาย
• หากปกติใช้เงินเดือนละ 15,000 บาท คำนวณอัตราเงินเฟ้อที่ปลอดภัย 3% เท่ากับว่า หากอายุ 60 ปี ต้องมีเงินเผื่อใช้เดือนละ 20,158 บาท ดังนั้น เงินก้อนเพื่อวัยเกษียณจะอยู่ที่ประมาณ 4,837,920 บาท ดังนั้น คุณต้องออมเงินเดือนละ 35,108 บาท
• หากปกติใช้เงินเดือนละ 20,000 บาท คำนวณอัตราเงินเฟ้อที่ปลอดภัย 3% เท่ากับว่า หากอายุ 60 ปี ต้องมีเงินเผื่อใช้เดือนละ 26,878 บาท ดังนั้น เงินก้อนเพื่อวัยเกษียณจะอยู่ที่ประมาณ 6,450,720 บาท ดังนั้น คุณต้องออมเงินเดือนละ 46,812 บาท
• หากปกติใช้เงินเดือนละ 30,000 บาท คำนวณอัตราเงินเฟ้อที่ปลอดภัย 3% เท่ากับว่า หากอายุ 60 ปี ต้องมีเงินเผื่อใช้เดือนละ 40,317 บาท ดังนั้น เงินก้อนเพื่อวัยเกษียณจะอยู่ที่ประมาณ 9,676,080 บาท ดังนั้น คุณต้องออมเงินเดือนละ 70,218 บาท
การออมแบบสม่ำเสมอ
• หากเงินเดือน 20,000 บาท คำนวณเงินออม 15% ของเงินเดือน เท่ากับออมเดือนละ 3,000 บาท ดังนั้น อายุ 60 ปี มีเงินออม 413,405 บาท เฉลี่ยมีเงินใช้เดือนละ 1,723 บาท
• หากเงินเดือน 30,000 บาท คำนวณเงินออม 15% ของเงินเดือน เท่ากับออมเดือนละ 4,500 บาท ดังนั้น อายุ 60 ปี มีเงินออม 620,108 บาท เฉลี่ยมีเงินใช้เดือนละ 2,584 บาท
• หากเงินเดือน 40,000 บาท คำนวณเงินออม 15% ของเงินเดือน เท่ากับออมเดือนละ 6,000 บาท ดังนั้น อายุ 60 ปี มีเงินออม 826,810 บาท เฉลี่ยมีเงินใช้เดือนละ 3,445 บาท
...
• หากเงินเดือน 50,000 บาท คำนวณเงินออม 15% ของเงินเดือน เท่ากับออมเดือนละ 7,500 บาท ดังนั้น อายุ 60 ปี มีเงินออม 1,033,512 บาท เฉลี่ยมีเงินใช้เดือนละ 4,306 บาท
จากการออมเงินแบบง่ายๆ ข้างต้น เห็นได้ว่า หากเริ่มออมตั้งแต่อายุยังน้อย เราจะมีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายยามเกษียณได้อย่างสบายๆ ซึ่งหากอยากออมมากกว่านี้ก็อาจจะเพิ่มเปอร์เซ็นต์เงินออมต่อเดือนให้มากขึ้น (หากว่าคุณไหว) ก็จะทำให้เงินใช้จ่ายยามเกษียณมีมากขึ้นด้วย และแม้การออมแบบมีเป้าหมายจะต้องออมด้วยจำนวนเงินที่สูง แต่ก็ทำให้เงินใช้จ่ายยามเกษียณของคุณมีความมั่นคงและไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง
และหากใครยังกลัวว่า เงินออมปกติจะไม่พอใช้หลังเกษียณ ก็สามารถเลือกลงทุนในส่วนของการลงทุนหุ้น ตราสารหุ้น หรือการลงทุนในกองทุนต่างๆ ได้ จะช่วยให้การออมเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีก.